ภาวะกระดูกหักในผู้บริโภคมังสวิรัติ

ภาวะกระดูกหักในผู้บริโภคมังสวิรัติ มักพบได้บ่อย

เมื่อเทียบกับคนที่บริโภคเนื้อสัตว์แล้ว ผู้บริโภคมังสวิรัติจะได้รับแคลเซียมและโปรตีนต่ำกว่า  ดังนั้นผู้บริโภคมังสวิรัติจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดกระดูกหักที่ใดก็ได้ในร่างกายถึง 43% (ของกระดูกหักทั้งหมด) รวมทั้งความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการหักบริเวณกระดูกสะโพก  ขา  และกระดูกสันหลัง  อย่างไรก็ตาม  ความเสี่ยงของกระดูกหักสามารถลดลงได้บางส่วน เมื่อมีการปรับปรุงดัชนีมวลกาย ปริมาณแคลเซียมในอาหารที่บริโภค  และการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนแล้ว

ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในผู้บริโภคมังสวิรัติ

นักระบาดวิทยาทางโภชนาการในอังกฤษระบุว่า   ผู้บริโภคมังสวิรัติมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักโดยรวม  ซึ่งส่งผลให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 20 รายต่อ 1,000 คนในช่วง 10 ปี เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์   ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือ กระดูกสะโพกหัก ซึ่งความเสี่ยงในผู้บริโภคมังสวิรัติอยู่ที่ 2.3 เท่า ของคนที่บริโภคเนื้อสัตว์  หรือเทียบเท่ากับ 15 รายต่อ 1,000 คน ในช่วง 10 ปี  ผลที่ได้นี้มาจากการเก็บข้อมูลจากผู้คนเกือบ 55,000 คน โดยเป็นกลุ่มประชากรชายและหญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษระหว่างปี 1993 และ 2001 ซึ่งมีบางส่วนไม่บริโภคเนื้อสัตว์หรือมังสวิรัติ   ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดได้รับการประเมินพฤติกรรมการบริโภคต่อเนื่องเป็นเวลา 18 ปี  และพบว่ามีกระดูกหักทั้งหมด 3,941 ชิ้น ได้แก่ แขน 566 ชิ้น ข้อมือ 889 ชิ้น ข้อสะโพก 945 ชิ้น ขา 366 ชิ้น ข้อเท้า 520 ชิ้น ข้อและกระดูกหัก 467 ชิ้น   อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักโดยรวมและกระดูกหักเฉพาะจะลดลงเมื่อมีการรับปรุงค่าดัชนีมวลกาย แคลเซียมในอาหาร และการบริโภคอาหารโปรตีน

กระดูกหักในผู้บริโภคมังสวิรัติสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย แคลเซียมในอาหาร และอาหารโปรตีน

ค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของกระดูกสะโพกหัก   ส่วนการได้รับแคลเซียมและโปรตีนในระดับต่ำมีส่วนเชื่อมโยงกับสุขภาพกระดูกที่แย่ลง  การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมังสวิรัติโดยเฉลี่ยมีค่าดัชนีมวลกายต่ำ เช่นเดียวกับมีการบริโภคแคลเซียมและโปรตีนที่ต่ำกว่าคนบริโภคเนื้อสัตว์  จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในหลายๆ บริเวณ  การรับประทานอาหารให้สมดุลและอาหารส่วนใหญ่มาจากพืชสามารถส่งผลให้ระดับสารอาหารดีขึ้นและเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ รวมทั้งโรคหัวใจและโรคเบาหวาน  ดังนั้นควรคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการรับประทานอาหารและตรวจสอบให้แน่ใจว่าร่างกายมีแคลเซียมและโปรตีนในระดับที่เพียงพอและยังคงรักษาค่าดัชนีมวลกายที่ดีนั่นคือไม่ให้มีน้ำหนักน้อยหรือน้ำหนักเกิน

ถึงแม้ว่าการบริโภคมังสวิรัติจะมีข้อดีด้านใยอาหารที่ไปช่วยลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างเบาหวาน  ความดัน   หรือโรคหัวใจ  แต่เมื่อเทียบกับคนที่บริโภคเนื้อสัตว์แล้ว  ผู้บริโภคมังสวิรัติมีการบริโภคแคลเซียมและโปรตีนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจะมีความเสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 43 ที่จะเกิดกระดูกหักที่ใดก็ได้ในร่างกาย  รวมทั้งความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการหักที่กระดูกสะโพก  ขา และกระดูกสันหลัง

เครดิตภาพจาก pixabay.com

#ทริคสุขภาพดี #การดูแลตัวเอง #ภาวะกระดูกหักคนกินมังสวิรัติ