ร่างกายของเราก็เหมือนเครื่องจักรที่มีการใช้งานอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงของวัยทำงานที่มีภาระต้องรับผิดชอบมากมาย ยิ่งสูงวัยขึ้นเรื่อย ๆ ร่างกายก็จะยิ่งเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ เช่นกัน ทำให้โรคร้ายต่าง ๆ เริ่มถามเข้ามามากยิ่งขึ้น ยิ่งเข้าสู่วัยชรา การทำงานของฮอร์โมน และการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งภายในและภายนอกก็จะช้าลง มาดูกันว่ายิ่งอายุมากขึ้นร่างกายจะเปลี่ยนแปลงยังไง
อายุยิ่งมาก ร่างกายยิ่งเปลี่ยนแปลง
1. ฮอร์โมนเพศผลิตน้อยลง หากเป็นผู้ชายจะเรียกว่าโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สเปิร์มและไข่ไม่แข็งแรงทำให้การมีบุตรในช่วงนี้เป็นไปได้ยากขึ้นด้วย หากพบว่ามีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้คำแนะนำวินิจฉัยรักษา
2. การเผาผลาญพลังงานลดลง ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย แม้ว่าจะทานอาหารในปริมาณเท่าเดิมก็ตาม
3. มีความเสี่ยงเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง ดังนั้นเมื่อสูงวัยขึ้นควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ของร่างกายตัวเองที่เกิดขึ้นด้วย หากพบความผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
4. การเปลี่ยนแปลงภายนอก เมื่ออายุเริ่มเข้าสู่ในช่วง 30-40 ปีขึ้นไป สิ่งที่ทุกคนต้องเจอคือสภาพของร่างกายที่เปลี่ยนไป เช่น พุงยืน ทรวดทรงต่าง ๆ เริ่มหย่อนยาน ผิวหนังเหี่ยวย่น และมีความหมองคล้ำ เป็นต้น ทำให้ขาดความมั่นใจเกิดขึ้นได้
5. ผมเริ่มร่วงและเป็นสีขาว บางรายอาจแค่ร่วงเพียงเล็กน้อย แต่บางรายอาจจะมีปัญหาผมบางและล้านเกิดเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
6. สายตายาวขึ้น อายุยิ่งมากสายตายิ่งยาว บางคนที่มีอาการสายตาสั้นอยู่แล้วก็จะมีอาการสายตายาวเกิดขึ้นพร้อมกันอีกด้วย เมื่อพบว่าตัวเองเริ่มมองอะไรพร่ามัว มองไม่ชัด ควรรีบไปตรวจสายตาเพื่อรับการแก้ไขโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
7. กระดูกเริ่มบาง การสะสมแคลเซียมจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ หากไม่รีบหาอาหารเสริมแคลเซียมให้ร่างกายอาจจะมีภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้นได้ในอนาคต
8. ปัญหาปากและฟัน ร่างกายผลิตน้ำลายน้อยลง ทำให้สารเคลือบฟันบางลง ฟันห่างขึ้น ผุง่าย มีปัญหาโรคเหงือกได้บ่อย ๆ
9. ริ้วรอยบนผิวหน้า เมื่อเข้าสู่วัย 30 ปีขึ้นไป จะเกิดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้ง่าย และจะลึกขึ้นชัดเจนขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
ยิ่งอายุมากยิ่งต้องดูแลตัวเอง
วิธีทำให้ดูดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ดูอ่อนกว่าวัย ทำได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่นการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดอาหารที่มีรสจัด ประเภท หวาน มัน เค็ม เมื่อสูงวัยขึ้นประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียภายในร่างกายก็จะลดลง เมื่อทานอาหารประเภทนี้มาก ๆ การขับของเสียทำได้น้อยลงก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ นอกจากนี้ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งในแต่ละวันไม่น้อยกว่า 6-8 ชั่วโมง และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน พฤติกรรมการใช้ชีวิตดังกล่าวมานี้จะช่วยยืดอายุการทำงานและระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นเราควรเริ่มดูแลตัวเองนับตั้งแต่เนิ่น ๆ และทำให้เป็นนิสัย แม้ว่าอายุจะสูงวัยแล้ว แต่หากสภาพร่างกายยังคงดูดี สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่โทรม ผิวหนังเปล่งปลั่งจากภายในสู่ภายนอก ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจ มีความสุข อายุยืนยาวอีกด้วย
เครดิตภาพ : researchcafe.org / sanook.com / bangkokhospital.com
Youtube :
18 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย (เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป)
รู้ได้อย่างไรว่าเข้าสู่ภาวะสูงวัย
#ภาวะสูงวัย #ความเปลี่ยนแปลงในวัยชรา #ร่างกายเมื่ออายุมาก