หลายคนอาจจะเคยเห็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในสภาพที่ร่างซูบหอมและผมร่วงจนต้องใส่หมวกปิดบังศีรษะของตัวเองที่ว่างเปล่านั้นไว้ สภาพของผู้ป่วยมะเร็งที่คุณเห็นกันไม่ได้มาจากโรคมะเร็งแต่อย่างใด แต่เป็นผลมาจากการทำคีโมซึ่งเป็นวิธีการรักษาเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งไม่ให้มีการเจริญเติบโตมากขึ้น โดยที่ทุกคนที่เป็นโรคมะเร็งต้องได้รับการรักษาเบื้องต้นไปจนถึงระยะสำคัญด้วยวิธีการทำคีโมเป็นสำคัญ แต่คุณคิดว่าคีโมสามารถรักษามะเร็งได้ผลจริงหรือ? แน่นอนว่า “ไม่ใช่คำตอบของการรักษาโรคมะเร็งที่แท้จริง”…เพราะอะไรเรามาดูกัน
คีโมทำให้ร่างกายผู้ป่วยมะเร็งมีอาการแทรกซ้อนได้
คุณจะเห็นได้ว่าหลังจากที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการทำคีโมแล้ว สภาพร่างกายของแต่ละคนก็จะเริ่มทรุดโทรมลงจากภาวะการปรับตัวของยาซึ่งจะมีการต้านเซลล์มะเร็งต่าง ๆ ในร่างกายของผู้ป่วย ด้วยฤทธิ์จากยาเคมีบำบัดคีโมนี้เองทำให้ฤทธิ์ของยาที่แรงมีการต่อต้านสารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ในร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ชอบซึ่งไม่สามารถทำได้ เพราะจะส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ไปจนถึงการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ที่จะหยุดชะงักจากอาการข้างเคียงของยาทำให้ร่างกายของเราอ่อนเพลีย และบางรายก็มีอาการข้างเคียงอื่นตามมามากมายด้วย
คีโมทำให้ร่างกายผู้ป่วยมะเร็งเกิดโรคภายในอื่นที่กำเริบออกมาได้
การทำคีโมอาจส่งผลกระตุ้นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายมากมายออกมา นั่นย่อมรวมไปถึงโรคภายในที่เราไม่รู้มาก่อนซึ่งแฝงอยู่ในร่างกายทำให้ร่างกายผู้ป่วยมะเร็งที่เวลานี้ได้รับยาคีโมแล้วไปส่งให้อาการของโรคที่แฝงกำเริบขึ้นมาเสมือน “เสือที่เพิ่งหลุดออกจากการจำศีล” ทำให้นอกจากเราจะต้องต่อสู้กับอาการข้างเคียงของยาคีโมแล้ว ยังจะต้องต่อสู้กับอาการของโรคภายในแฝงที่มาจู่โจมเล่นงานอีกด้วย
คีโมทำให้ร่างกายผู้ป่วยมะเร็งบรรเทาอาการได้ 60% เท่านั้น
แม้ว่าคีโมจะมีฤทธิ์ต่อต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็งได้ แต่เซลล์มะเร็งนั้นย่อมสามารถเจริญเติบโตจนแตกตัวได้ตลอดเวลาและอาจเร็วกว่าที่ยาคีโมจะมีฤทธิ์ครอบคลุมถึง หากไม่ใช้การรักษาทำลายเซลล์ด้วยรังสีที่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งให้ตายได้แบบถอนรากถอนโคน การรักษาด้วยคีโมก็ยังจะมีผลแค่เพียง 60% เท่านั้น
แม้ว่าคีโมจะช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ไม่หายสนิทและยิ่งทำร่างกายก็ยิ่งอ่อนแรงมากขึ้น แต่ทั้งนี้ การรักษาด้วยคีโมในผู้ป่วยมะเร็งก็เป็นทางเลือกที่พร้อมที่สุดในประเทศไทยและมีค่าใช้จ่ายไม่สูงเหมือนการรักษาด้วยรังสีทำให้สามารถเข้าถึงผู้คนได้มาก
เคมีบำบัด(คีโม) คืออะไร การรักษาและการดูแลตัวเองผู้ป่วยมะเร็ง
รูปภาพประกอบ : Pixabay
#คีโม #คีโมดีหรือไม่ดี #รู้จักคีโม