การเดินทางที่สะดวกและรวดเร็วที่สุดคือการโดยสารทางเครื่องบิน ซึ่งในปัจจุบันราคาก็ไม่สูงมากเท่ากับเมื่อก่อน เนื่องจากมีสายการบินขนาดเล็กมากมากมายให้เลือกใช้บริการ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกใช้การเดินทางเครื่องบินมากยิ่งขึ้น แต่หลายคนอาจจะมองข้ามในเรื่องของโรคประจำตัวหรืออาการต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายในระหว่างการเดินทาง และนี่คือ 6 โรคประจำตัวที่ห้ามบิน หากมีอาการหรือเป็นโรคเหล่านี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตโดยไม่รู้ตัว
6 โรคประจำตัว ที่ห้ามเดินทางโดยเครื่องบิน
1. โรคหัวใจล้มเหลว หรือโรคหัวใจวายเรื้อรัง และโรคหัวใจขาดเลือด หากเป็นโรคนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หากการดำเนินชีวิตยังคงเป็นไปอย่างปกติ ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หรือหัวใจเต้นตามปกติ ในระยะ 1-2 เดือน เมื่อความจำเป็นต้องเดินทางยังพอทำได้ แต่หากมีอาการดังกล่าว ควรเว้นระยะหลังจากมีอาการเกิดขึ้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ นอกจากนี้ควรปรึกษาแพทย์ และแจ้งทางสายการบินให้ได้รับทราบด้วย
2. โรคความดันโลหิตสูง หากพบว่าตัวเองมีความดันตัวบนเกิน 160 MMHG ควรเข้ารับการรักษาก่อนเดินทาง และเตรียมยารักษาโรคประจำตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เนื่องจากความกดอากาศภายในเครื่องบินอาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้
3. โรคลมชัก เมื่อเป็นโรคนี้รุนแรงถึงขั้นควบคุมอาการไม่ได้ หรือผู้ที่กำลังพักฟื้นจากการผ่าตัดสมองไม่ควรเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นอย่างยิ่ง หากมีความจำเป็นจริง ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้คำแนะนำ เพราะบนเครื่องบินจะมีออกซิเจนเบาบาง ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจน รวมถึงความอ่อนเพลีย ความวิตก อาจทำให้เกิดอากาศชักเกิดขึ้นได้ง่าย
4. โรคหูอักเสบเฉียบพลัน หรือไซนัส อากาศภายในเครื่องบินเบาบางกว่าปกติ รวมถึงความกดอากาศที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยปวดหู และอาการอื่น ๆ ยิ่งไปกระตุ้นโรคนี้ให้มีอาการมากยิ่งขึ้น
5. โรคทางจิตเวช หากเป็นรุนแรงจนไม่อาจจะควบคุมได้ ควรงดเดินทางโดยเครื่องบิน แต่กรณีที่มีการรักษาจนหายดีแล้ว ควรมีผู้ติดตามเฝ้าดูอาการไปด้วย นอกจากนี้ควรได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าสามารถขึ้นเครื่องบินได้ เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวผู้ป่วย และผู้โดยสารคนอื่น ๆ
6. โรคหอบหืด ผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นโรคประจำตัวที่ห้ามบิน ในกรณีที่เลี่ยงไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์ และนำยารักษาโรคประจำตัวไปด้วย
สิ่งที่ควรทำเมื่อต้องเดินทางโดยเครื่องบินของผู้ป่วยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคประจำตัวที่ห้ามบินแต่มีความจำเป็นที่ต้องเดินทาง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ควรมีแพทย์ พยาบาล หรือญาติที่สามารถเฝ้าดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดร่วมเดินทางไปด้วย รวมถึงอาจต้องเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือยามฉุกเฉินเช่น ออกซิเจนบนเครื่อง เป็นต้น ดังนั้นการเตรียมตัวโดยเริ่มจากการวางแผนเดินทางให้ดี และแจ้งสายการบินทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3-5 วัน นอกจากนี้ควรขอใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าสามารถขึ้นเครื่องได้ และปฏิบัติตามกฎของสายการบินกำหนดอย่างเคร่งครัด เพราะถึงแม้ว่าจะมีใบรับรองแพทย์แล้ว แต่เจ้าหน้าที่หรือนักบินมีสิทธิในการปฏิเสธไม่ให้ผู้ป่วยขึ้นเครื่องได้ ซึ่งกฎเหล่านี้มีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสายการบินกำหนด
เมื่อเราป่วย หรือมีอาการที่ไม่สามารถโดยสารทางเครื่องบินได้ ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้งหากมีความจำเป็นที่ต้องเดินทาง เนื่องจากโรคประจำตัวที่ห้ามบินเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวเราเองและผู้ที่อื่นร่วมเดินทางด้วย ดังนั้นหากร่างกายไม่พร้อมควรงดการเดินทางหรือเลื่อนออกไปก่อน ในทุกครั้งควรมีผู้ติดตามและนำยาโรคประจำตัวไปด้วย นอกจากนี้ควรบอกทางสายการบินไว้ด้วยจะเป็นการดีที่สุด
เครดิตภาพ : tqm.co.th / wegointer.com
Youtube :
เปิดโรคต้องห้าม ขึ้นเครื่องบิน
#โรคประจำตัวที่ห้ามบิน #โรคที่เป็นแล้วห้ามบิน #รู้ทันโรค