ภาวะโรคอ้วนกำลังเพิ่มขึ้นกับพลเมืองทั่วโลก โดยเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การบริโภคที่มากเกินไปและการออกกำลังกายไม่เพียงพอ โรคอ้วนทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ตามมา เช่นโรคเบาหวานประเภท 2 ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยความผิดปกติดังกล่าวล้วนทำให้อายุขัยที่สั้นลง นอกเหนือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตจะมีผลเกี่ยวพันกับโรคอ้วนแล้ว มีรายงานในต่างประเทศที่ระบุว่าภูมิหลังทางสังคมของบุคคลในแง่มุมต่างๆ ก็มีผลต่อโรคอ้วนเช่นกัน
โรคอ้วนกับภูมิหลังของบุคคล
การศึกษาเชิงสำรวจเพื่อหาความเกี่ยวข้องระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับโรคอ้วนได้ดำเนินการในประเทศญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและภูมิหลังทางสังคม โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับประชาชน 5,425 คน ที่ตอบแบบสำรวจ แบบสอบถามได้ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของโรคอ้วนนั้นเชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ นอกเหนือจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันของแต่ละบุคคล ยังรวมถึงประสบการณ์ในวัยเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการล่วงละเมิด โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นเพราะขาดแรงผลักดันทางจิตใจในการปรับปรุงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตน อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยนี้ได้เปิดเผยว่า ในผู้หญิงนั้น โรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ไม่เพียงเชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม (เช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการศึกษา) แต่ยังรวมถึงประสบการณ์ในวัยเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการล่วงละเมิด ซึ่งสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงสวัสดิภาพเด็ก เช่นการเพิ่มมาตรการป้องกันการละเมิดจะช่วยป้องกันโรคอ้วนในผู้ใหญ่ด้วย
ผลการเชื่อมโยงระหว่างโรคอ้วนกับภูมิหลังของบุคคล
ในปี 2018 ทางการเมืองโกเบได้แจกจ่ายแบบสำรวจแก่ประชาชน 20,000 คนที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 64 ปี เพื่อตอบเกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น สภาพความเป็นอยู่และปัญหาสุขภาพเพื่อให้เข้าใจถึงสุขภาพของผู้อยู่อาศัย จากผลของแบบสอบถามนี้ได้มีการตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงกับโรคอ้วนซึ่งเรียกว่า ‘สาเหตุของโรคทุกชนิด’ มีผู้ตอบแบบสำรวจผู้ชายที่เป็นโรคอ้วน (27.2%) มากกว่าผู้ตอบแบบหญิง (10.6%) ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันกับแนวโน้มระดับชาติในญี่ปุ่น เมื่อนักวิจัยตรวจสอบปัจจัยทางสังคมและส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงกับโรคอ้วน พบว่าระหว่างผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนและผู้หญิงที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย มีความแตกต่างในสิ่งต่อไปนี้ สถานะการจ้างงาน สภาพเศรษฐกิจในครัวเรือน วุฒิการศึกษากิจกรรมนอกหลักสูตรในช่วงมัธยมต้น/มัธยมปลาย สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่ออายุ 15 ปี และประสบการณ์ความทุกข์ยากในวัยเด็ก นอกจากนี้ สถานภาพการสมรส สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในครัวเรือน วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ความทุกข์ยากในวัยเด็กเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายการเริ่มมีอาการของโรคอ้วน ในทางกลับกันไม่พบความแตกต่างทางสถิติของสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นในผู้ชาย ทังนี้ประสบการณ์ความทุกข์ยากในวัยเด็ก จะรวมถึงความรุนแรงทางร่างกายจากพ่อแม่ อาหารหรือเสื้อผ้าไม่เพียงพอ และการบาดเจ็บทางอารมณ์ที่เกิดจากความคิดเห็นหรือการดูถูกของผู้ปกครอง
สาเหตุหลักของโรคอ้วนที่รับรู้กันโดยทั่วไป คือ การรับประทานมากเกินไปและการออกกำลังกายไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะมองว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปนั้นขาดวินัยในตนเองและเป็นคนอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่า สำหรับผู้หญิง ภูมิหลังทางสังคมของบุคคลนั้นเชื่อมโยงกับการเริ่มมีอาการของโรคอ้วน สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการคำนึงถึงปัจจัยทางสังคมในการดำเนินนโยบายเพื่อจัดการกับโรคอ้วน
เครดิตภาพจาก pixabay.com
#โรคอ้วน #ทริคสุขภาพดี #ความรู้เรื่องโรค