ความดันต่ำ VS ความดันสูง

ความดันต่ำ VS ความดันสูง วิธีลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก ปวดหัว

                  ความดันโลหิต เกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ ค่าที่ได้เกิดจากการบีบตัว และการคลายตัวของหัวใจ โดยค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากความดันมีค่าสูงหรือต่ำกว่านี้มากจนเกินไป อาจส่งผลให้เกิดโรคความดันต่ำหรือความดันสูง ได้

ความดันโลหิตต่ำ

                  หรือความดันต่ำ คือค่าความดันเลือดต่ำกว่า 90/60 มิลิเมตรปรอท สามารถพบได้ทั้งทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว สาเหตุเกิดจากการขาดสารอาหาร เช่น วิตามินซี โปรตีน เป็นต้น ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง หรือคลายตัวมากเกินไป ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยจนเกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนช้า หัวใจบีบตัวน้อยลง หรืออาจจะเกิดจากอาการกลัว ตกใจ ส่งผลให้ความดันต่ำได้ นอกจากนี้การขยายตัวของหลอดเลือดมากจนเกินไป หรือเป็นโรคหัวใจ ก็ส่งผลเช่นกัน

                  อาการที่พบโดยทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ฯลฯ แต่หากปล่อยให้เป็นเรื้องรัง อาจส่งผลต่อสมอง ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ทางที่ดีรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาจะดีที่สุด การดูแลตัวเองที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกาย เพื่อให้เลือดได้สูบฉีด ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ที่สำคัญปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ความดันโลหิตสูง

                  หรือความดันสูง คือมีค่าความดันที่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ประเภททราบสาเหตุ พบได้จากผู้ที่เป็นโรคประจำตัวที่ผลโดยตรงต่อความดันโลหิต เช่น โรคไตวาย โรคหลอดเลือดแดง โรคอ้วน โรคไต เป็นต้น ซึ่งโรคต่าง ๆ ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค การนอนหลับพักผ่อนของผู้ป่วย หรือแม้แต่พันธุกรรมก็มีส่วนเช่นกัน ประเภทไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่ส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะไม่ทราบว่าตัวเองมีความดันสูง

จะตรวจพบก็ต่อเมื่อเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการอย่างอื่น สาเหตุส่วนใหญ่อาจเกิดจากความกลัว ตื่นเต้น หรือเครียด ผลระยะยาวอาจจะทำหัวใจโต หัวใจบีบตัวไม่เป็นปกติ หรือร้ายแรงชนิดหัวใจล้มเหลวได้ เพราะมีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดโดยตรง การดูแลตัวเองจากความดันสูง สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการควบคุมไม่ให้น้ำหนักเกิน เลี่ยงความเครียด ไม่ทานเค็มมากเกินไป และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

                  เมื่อผลค่าความดันสูง หรือต่ำ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมให้ค่าความดันคงที่ เชื่อฟังคำแนะนำจากแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัด ดูแลสุขภาพตัวเองทั้งในเรื่องอาหารการกิน พักผ่อนนอนหลับ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญหาเวลาไปตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และทำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำนอกจากจะช่วยให้เตรียมพร้อมรับมือกับโรคร้ายแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้หันมาใส่ใจสุขภาพตัวเองอีกด้วย

เครดิตภาพ : medium.com / pobpad.com / proextron.com

#ความดันต่ำ VS ความดันสูง #ความดัน #รู้ทันโรคภัย