เครื่องดื่มทั้งที่ใช้น้ำตาลจริงและที่ใช้น้ำตาลเทียมล้วนสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำตาลเทียมอาจจะไม่ใช่เลือกเพื่อสุขภาพที่ดี ตามที่มีการกล่าวอ้าง ทั้งนี้ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยโรคหัวใจแห่งอเมริกา ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้อาหารรวมทั้งเครื่องดื่มที่แต่งเติมรสหวานด้วยน้ำตาลจริงสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของหัวใจและการเผาผลาญได้ แต่กับเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมซึ่งได้รับการแนะนำให้เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพนั้น กลับไม่ทราบผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดอย่างชัดเจน น้ำตาลเทียมเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาทางวิทยาศาสตร์ และมีคุณสมบัติให้รสหวานคล้ายน้ำตาล สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้ เนื่องจากผู้บริโภคบางกลุ่มต้องการลดน้ำตาลที่เป็นสารคาร์โบไฮเดรต เพื่อควบคุมน้ำหนักหรือเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนั้นน้ำตาลเทียมยังใช้ลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดมีราคาสูง และบาครั้งก็ขาดตลาด ทั้งนี้ ราคาน้ำตาลเทียมจะต่ำกว่าน้ำตาลมากจึงหันมาใช้สารให้ความหวานประเภทน้ำตาลเทียมแทน รวมทั้งใช้รักษาคุณภาพอาหารเมื่อเก็บไว้นาน นอกจากนั้น ยังใช้ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ไม่ใช่อาหารเพื่อให้มีรสหวาน เช่น ยา ยาสีฟัน เป็นต้น
การเปรียบเทียบระหว่างเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมกับที่ใช้น้ำตาลจริง
นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลที่ได้จากผู้เข้าร่วม 104,760 คน แล้วนำมาตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเทียม โดยผู้เข้าร่วมการทดสอบถูกขอให้กรอกข้อมูลการบริโภคอาหารตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะมีการตรวจสอบสามครั้งทุกหกเดือน เครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมถูกกำหนดให้เป็นเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่วนเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลแท้จะเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล 5% ขึ้นไป
การปรากฎโรคหัวใจและหลอดเลือดกับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียม
ระหว่างการติดตามผลตั้งแต่ปี 2552-2562 นักวิจัยพบว่ามีผู้เข้ารับการทดสอบเกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งถูกวิเคราะห์ให้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน และการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือด โดยมีผู้เข้าร่วม 1,379 คน มีกรณีโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นครั้งแรก เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่ม อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้บริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเทียมมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในครั้งแรก ดังนั้น การศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่าเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมไม่สามารถทดแทนเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพได้ ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีจากการติดฉลากและการควบคุมเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลกับเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียม อย่างไรก็ตาม นักวิจัยกล่าวว่า การจะสร้างความเชื่อมโยงเชิงของสาเหตุระหว่างเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจริงและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเทียม กับโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น จำเป็นต้องมีการจำลองแบบในกลุ่มประชากรปริมาณมากและต้องมีการตรวจสอบทางกลไกให้ชัดเจน
เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลแท้และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเทียม ล้วนมีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า เครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพตามที่มักกล่าวอ้างกัน
เครดิตภาพจาก pixabay.com
#น้ำตาลเทียม #การดูแลตัวเอง #สุขภาพน่ารู้