“โรคร่าเริง” ง่วงกลางวัน ลันล้ากลางคืน

“โรคร่าเริง” ง่วงกลางวัน ลันล้ากลางคืน วิธีลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก ปวดหัว

                  โรคยอดฮิตของคนในยุคปัจจุบัน โรคร่าเริง ชื่ออาจจะไม่ค่อยคุ้นหู ชื่ออาจจะน่ารักแต่ความจริงแล้วแฝงด้วยภัยร้ายต่อร่างกายมากมาย เกิดจากพฤติกรรมของคนทั่วไปที่ชอบลันล้ากลางคืน ไม่ตื่นตอนกลางวัน

Excited woman finding good news in a tablet on line in the night on the bed at home with a dark background

                  โรคร่าเริง ไม่ได้เป็นชื่อทางการทางการแพทย์ เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของคน เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ และการไม่หลับในเวลากลางคืน จนทำให้สะสมจนคล้ายกับว่ามีการใช้งานร่างกายอย่างหนัก เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนที่ชอบอ่านหนังสือเตรียมสอบ หรือคนที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อเนื่องยาวนาน กินเวลาหลายวัน ทำให้ นาฬิกาชีวิตรวมถึงระบบการทำงานของร่างการมีความแปรปรวน อาการที่พบได้ของคนที่เป็นโรคนี้คือ จะรู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวัน มีอาการหงุดหงิดได้ง่าย ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระหว่างวัน คิดอะไรไค่อยออก แต่พอถึงเวลากลางคืน สมองจะเริ่มทำงาน คิดอะไรได้รวดเร็ว รู้สึกมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่า ทำให้นอนดึก ส่งผลให้นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างที่ควรจะเป็น เป็นคนที่กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่ยอมนอน

อันตรายของโรคร่าเริง

                  เมื่อร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอติดต่อกันยาวนานหลายวัน หรือเป็นประจำทุกวันจนเกิดความเคยชิน เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ และมีการสะสมมากขึ้นทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เช่น

1. การผลิตฮอร์โมนผิดปกติ โฉยเฉพาะโกรทฮอร์โมน มีหน้าที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ซ่งจะผลิตมากในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. หากเป็นโรคร่าเริงไม่ยอมนอน โกรทฮอร์โมนตัวนี้ก็จะค่อย ๆ หายไป ทำให้ระบบของร่างกายทำงานไม่เป็นปกติ อาจส่งผลทำให้ ผิวพรรณไม่สดใส การเผาผลาญไม่สมบูรณ์หรือน้อยลง เกิดการอยากทานของหวาน ๆ เพิ่มมากขึ้น เสี่ยงเกิดโรคอ้วนตามมาได้

                  2. ง่วงอยู่ตลอดเวลา ง่วงตลอดทั้งวัน รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่อยากตื่นเช้า และไม่อยากจะทำอะไร

                  3. ติดกาแฟ คาเฟอีนในกาแฟจึงเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว เมื่อดื่มกาแฟบ่อย ๆ ก็จะทำให้เป็นคนติดกาแฟได้ นอกจากนี้การทานคาเฟอีนมาก ๆ มีผลเสียอื่น ๆ ของร่างกายด้วย

                  4. ประจำเดือนในผู้หญิงมาไม่ปกติ เมื่อความสมดุลของระดับฮอร์โมนเปลี่ยนไปส่งผลต่อระบบการมีประจำเดือนในผู้หญิงด้วย ทำให้มาไม่ปกติ มาช้า หรือมาน้อย เป็นต้น

                  5. เสี่ยงต่อโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ เป็นต้น

จัดชีวิตใหม่ ปรับพฤติกรรมโรคร่าเริง

              1. เข้านอนก่อนเวลา 22.00 น. เพื่อให้โกรทฮอร์โมนผลิตออกมาได้อย่างเต็มที่ ช่วยให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูตัวเองช่วยให้ผิวพรรณสดใส ไม่หมองคล้ำ

              2. ออกกำลังกายช่วงเช้าเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา อาบน้ำด้วยอุณหภูมิปกติจะยิ่งช่วยให้กระปี้กระเปร่าขึ้น พร้อมสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในระหว่างวัน

              3. ทานอาหารเช้าเป็นประจำ โดยปกติคนที่เป็น โรคร่าเริงจะมีนิสัยนอนตื่นสายจึงไม่ทานอาหารเช้า ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาทานอาหารเช้าโดยเน้นอาหารประเภทโปรตีน เพราะหากทานแป้งหรือน้ำตาลมากเกินไป จะทำให้ง่วงนอนในระหว่างวันได้ การเสริมโปรตีนจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่อ่อนเพลียได้ง่าย

              4. ดื่มน้ำสะอาด ไม่น้อยกว่าวันละ 8 แก้ว เพื่อให้สมองแล่น เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย

              5. หายใจเข้าออกช้า ๆ เพื่อเอาออกซิเจนเข้าปอดให้มากที่สุด ลดความเครียด สร้างความสุขปลุกพลังความสดชื่น

                  อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่เคยชินกับการเป็นโรคร่าเริงจนไม่มีความรู้สึกว่ามีความผิดปกติใด ๆ กับร่างกาย แต่เมื่อสะสมเป็นระยะเวลานาน อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ร่างกายเสริมสภาพเร็ว โรคร้ายจะตามมาได้ในที่สุด ดังนั้นควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ในอนาคตจะดีกว่านะ

เครดิตภาพ : sanook.com / mamaogun.com / realmetro.com

https://www.youtube.com/watch?v=jtCUKO_EGBg ทำความรู้จัก “โรคร่าเริง”

#โรคร่าเริง #ฮอร์โมนต่อมไร้ท่อผิดปกติ #ง่วงกลางวันตื่นกลางคืน