PM 2.5 ใกล้ตัวกว่าที่คิด ร้ายแรงถึงเซลล์ภายในร่างกาย

PM 2.5 ใกล้ตัวกว่าที่คิด ร้ายแรงถึงเซลล์ภายในร่างกาย วิธีลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก ปวดหัว

                  ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาฝุ่นควันปกคลุมทุกพื้นที่ สร้างความวิตกกังวลอย่างมาก โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO สำรวจพบว่าประชาชน 9 ใน 10 คน เผชิญกับคุณภาพอากาศที่มีมลพิษเกินกว่าค่ามาตรฐาน ทำให้ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุนี้หลายล้านคนทั่วโลก

                  มลพิษทางอากาศมีอันตรายต่อสุขภาพเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยประสบปัญหาอย่างหนักในเรื่องของฝุ่นละอองและหมอกควัน พบว่าพื้นที่กว่า 28 แห่ง ใน 29 จังหวัด มีค่าเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่เขตชุมชนเมือง จำนวน 53 แห่ง มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ถึง 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ฝุ่นละอองและควันเหล่านี้ เกิดจากการโรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์และการขนส่ง การเผาในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและร่างกายของคนเรา ทั้งด้านสุขภาพและการดำรงชีวิต

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก คืออะไร

                  PM 2.5 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของคนเรากว่า 20 เท่า ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ และมองเห็นไม่ได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดการรวมตัวกันมากขึ้น จะทำให้มองเห็นเป็นหมอกจาง ๆ ล่องลอยอยู่ในอากาศทั่วไป เมื่อรวมกับไอน้ำ ควัน รวมถึงก๊าซต่าง ๆ และสารอันตรายอื่น ๆ เช่น ปรอท โลหะนหัก สารก่อมะเร็ง หากสูดดมเข้าไปจะแพร่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ กระแสเลือด และอวัยวะอื่น ๆ ส่งผลเสียโดยตรงต่อร่างกายของเรา จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ต้นกำเนิดของฝุ่นพิษกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ มาจากเครื่องยนต์ประเภทดีเซลมีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดควันดำและฝุ่น รวมถึงจากการเผาในที่โล่ง และกิจการก่อสร้าง อีกประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีความกดอากาศสูงจากทางภาคเหนือ เคลื่อนตัวปกคลุมทุกพื้นที่ ดินคลายความร้อนเร็วขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิเหนือพื้นดินเย็นลง ทำให้ไม่มีช่องว่างให้อากาศร้อน รวมถึงฝุ่นควันต่าง ๆ ที่รวมตัวกันภายในอากาศไม่สามารถไหลผ่านขึ้นไปได้ ที่เรียกกันว่าอากาศปิด จึงทำให้มลพิษย้อนกลับมาที่พื้นดินนั้นเอง

มลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กมีผลต่อร่างกายอย่างไร

              หลายคนคิดว่า PM 2.5 เป็นเพียงแค่ฝุ่นควันไม่มีอันตราย แต่แท้จริงแล้วด้วยขนาดที่เล็ก ยิ่งเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพ โดยจะแสดงอาการต่าง ๆ เช่น ตาแดง เปลือกตาบวม ใต้ตาเป็นรอยช้ำ ถุงใต้ตาสีคล้ำขึ้น อาจมีน้ำตาไหลบ่อย ๆ ผิวหนังเป็นผื่น นูนแดงมีอาการคันกระจายอยู่ทั่วไปบนผิวหนัง บางรายอาจจะมีอาการแสบคัน แน่นในโพรงจมูก ไอ จาม แน่นหน้าอก อาจมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมา หากได้รับมลพิษอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จะส่งผลได้กับสมองทำให้มีการพัฒนาช้า สมาธิสั้น เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้อยู่แล้วจะยิ่งเป็นหนักขึ้น นอกจากนี้มลพิษยังเข้าไปทำร้ายเซลล์ผิวหนัง เกิดความเหี่ยวย่นได้ง่าย ผิวหนังอ่อนแอ สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ เพราะอาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ และหากเกิดการสะสมในร่างกายมาก ๆ อาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคมะเร็งที่ปอด โรคหัวใจขาดเลือด ปอดอักเสบ เพราะมลพิษจะเข้าไปทำร้ายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จนถึงแก่ชีวิตก่อนวัยอันควร โดยข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกได้สำรวจพบว่ามีประชากรทั่วโลกมากกว่า 6 ล้านคนในแต่ละปี ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบมากถึง 6 แสนคน จากสถิตินับว่าเป็นเรื่องน่าตกใจไม่น้อยกับภัยร้ายใกล้ตัวจากฝุ่นควันและมลพิษที่เกิดขึ้น

                  PM 2.5 จะกลับมาเรื่อย ๆ ตราบใดที่ยังไม่มีการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ยังคงใช้รถ ก๊าซ และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงปล่อยก๊าซพิษสู่อากาศ รวมถึงการเผาในที่โล่งแจ้ง หากไม่มีการร่วมมือกันสร้างมาตรการในการควบคุมอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ปัญหาฝุ่นควันเหล่านี้จะคงกลับมาเป็นแบบเดิมในทุก ๆ ปี ดังนั้นสิ่งที่พอจะทำได้ในตอนนี้คือการดูแลป้องกันตัวเองและผู้อื่นให้มีความปลอดภัยไม่มีโรคร้ายตามมา

เครดิตภาพ : thaihealth.or.th / jobschiangrai.com / madambuase.com

Youtube:

เปิดแผนจัดการฝุ่น PM2.5 ปัญหาที่ปกคลุมเมืองหลวงมาหลายปี

ค่าฝุ่น PM 2.5 กทม.พุ่งสูง ติดอันดับ 8 ของโลก เกินถึงระดับอันตราย 71 จุด

ฝุ่นPM 2.5 อันตรายและการป้องกัน

#ปัญหา PM 2.5 #อันตรายจาก PM 2.5 #ป้องกันฝุ่น PM 2.5