ในชีวิตหลายคนน่าจะเคยเห็นคนรอบตัวบางคนที่อยู่ในวัยเด็กแต่กลับมีร่างกายและใบหน้าที่เหมือนคนแก่ จนอดสงสัยไม่ได้ว่าเหตุใดร่างกายของคนเหล่านี้จึงไม่ได้เติบโตตามอายุเลย วันนี้เราก็จะมาอธิบายเกี่ยวกับ “โรคคนแก่ในเด็ก” ให้คุณได้รู้กันเสียทีว่าสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายพวกเขามากจากอะไร?
ทำความรู้จักกับ “โรคคนแก่ในเด็ก”
“โรคคนแก่ในเด็ก” หรือ “โรคโพรเจอเรีย” เป็นโรคที่แสดงความผิดปกติของเซลล์ร่างกายที่แก่ตัวเร็วกว่าปกติ พบได้เพียง 1 ใน 8 ล้านคน โดย 90% ของคนปกติ โดยลักษณะของเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเหมือนเด็กปกติใน 10 – 24 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเจริญเติบโตช้ามาก รูปร่างแคระแกรน เตี้ย น้ำหนักน้อย แก่เร็ว ผิวหนังเหี่ยวย่น และเหนื่อยง่าย
สาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคคนแก่ในเด็ก”
“โรคคนแก่ในเด็ก” หรือ “โรคโพรเจอเรีย” ยังไม่สามารถพบสาเหตุที่แท้จริงได้ จากการวิจัยพบว่าเกิดจากความผิดปกติที่เซลล์และยีนในร่างกายที่เสื่อมวัยกว่าปกติหลายเท่า แรกเกิดอาจเป็นเพียงเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติเพียงเล็กน้อย แต่การเจริญเติบโต และพัฒนาการทางร่างกาย และสมองของเด็กจะเริ่มช้าลงมากตั้งแต่วัย 1-2 ขวบโดยอาจไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องจากพันธุกรรมของพ่อแม่ หรืออาจมีความเป็นไปได้ที่เด็กจะได้รับยีนส์หรือสารจากโรคทางพันธุกรรมมาจากคนในตระกูลทั้งทางตรงและทางอ้อมก็ได้ แต่พวกเขาอาจจะไม่ได้รับผลกระทบการแสดงของโรคที่ออกมาสู่ร่างกาย แต่มาปรากฏกับเด็กที่เป็นลูกหลานแทน
วิธีรักษา “โรคคนแก่ในเด็ก”
“โรคคนแก่ในเด็ก” หรือ “โรคโพรเจอเรีย” อาจไม่ใช่โรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตเหมือนพวกโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงที่ทำลายอวัยวะภายในร่างกาย แต่จากการที่เด็กเป็นโรคคนแก่ในเด็กก็มีผลอย่างมากในด้านของพัฒนาการที่จะส่งผลให้เด็กไม่สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้คล่องแคล่วเหมือนเด็กทั่วไปและมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่ค่อนข้างช้าคล้ายกับคนแก่ ซึ่งอาจทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำและเจ็บป่วยง่ายจึงควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ติดตัวมาแต่กำเนิดจึงรักษาไม่ได้ ทำได้เพียงให้ความช่วยเหลือเด็กเท่าที่ทำได้ พยายามพาเด็กไปกายภาพบำบัดและฝึกการกระตุ้นพัฒนาการบ่อย ๆ แล้วเขาจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้นในอนาคตด้วยกำลังใจจากคนรอบข้างนั่นเอง
ฉะนั้นหากคุณได้รู้จักและใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคคนแก่ในเด็กก็อย่าได้กีดกันเขาออกจากสังคมเลย ตรงกันข้ามคุณควรเป็นผู้สอนให้เขาได้เห็นโลกมากขึ้นและทำกิจกรรมแบบเบา ๆ ร่วมกันเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมให้เขาไม่รู้สึกแปลกแยกจากคนอื่น
รูปภาพประกอบ : https://women.mthai.com/
#โรคคนแก่ในเด็ก #โรคโพรเจอเรีย #เรื่องโรคน่ารู้