คนที่ป่วยไบโพล่าร์ (Bipolar) สามารถหายได้เองหรือไม่

คนที่ป่วยไบโพล่าร์ (Bipolar) สามารถหายได้เองหรือไม่ วิธีลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก ปวดหัว

ไบโพล่าร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งสารเคมีภายในสมองไม่มีความสมดุล ส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นแสดงอารมณ์ผิดปกติออกเป็นสองขั้ว คือ มีอาการซึมเศร้ารุนแรง และบางครั้งมีอารมณ์สนุก พุ่งพล่านคึกคักมากเกินไป แต่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ที่เป็น Bipolar จะต้องมีอาการคุ้มดีคุ้มร้าย สนุกและซึมเศร้าสลับกันไป ความจริงแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น มาศึกษาไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นโรคนี้ได้อย่างถูกต้อง

การสังเกตอาการว่าใครเป็นโรคไบโพล่าร์

                  สาเหตุของไบโพล่าร์ มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งสารเคมีบางชนิดในสมองมีความผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสารสื่อประสาท เช่น นอร์อะดรีนาลีน เซโรโทนิน และโดปามีน อยู่ในระดับที่ไม่มีความสมดุล ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกโดยตรง ซึ่งบางครั้งอาจอารมณ์ดี ร่าเริง เปลี่ยนเป็นคนซึมเศร้า สลับกันไป ในส่วนของพันธุกรรมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง หากคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ผิดปกติก็ส่งผลถึงญาติพี่น้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้เกิดขึ้นได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อสภาพร่างกายและจิตใจ การเจ็บป่วย เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว คนรอบข้างสามารถสังเกตได้จากอาการของโรคมี 2 ระยะ ได้แก่

                  ระยะมาเนีย (Manic Episode) จะมีอาการพุ่งพล่าน คิดเร็ว ทำเร็ว มั่นใจในตัวเองสูง นอนหลับพักผ่อนน้อย เพราะอยากออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ใช้เงินฟุ่มเฟือย ซึ่งระยะนี้จะทำให้ผู้คนรอบข้างรวมถึงตัวผู้ป่วยเข้าใจว่าเป็นนิสัยของโรคไฮเปอร์ ไม่มีความผิดปกติ และจะมีพฤติกรรมแบบนี้อยู่เป็นเวลานานหลายสัปดาห์หรืออาจจะเป็นเดือน

                  ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) จะมีอาการตรงข้ามกับมาเนียทุกอย่าง คือ เบื่อหน่าย เนือยนิ่งไม่อยากทำอะไร เบื่ออาหาร หรือทานมากกว่าปกติ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ท้อแท้สิ้นหวัง อ่อนเพลีย อยากตาย หรือทำร้ายตัวเอง และจะมีอาการแบบนี้นานติดต่อกันนานนับเดือน แล้วจึงกลับไประยะมาเนียอีกครั้ง

                  เมื่อมีความรู้สึกว่าตัวเองหรือคนรู้จักมีพฤติกรรมดังกล่าวมาข้างต้น นั้นหมายความว่าอาจจะป่วยเป็น Bipolar ควรรีบเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวินิจฉัยรักษา ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งในระยะมาเนียจะเป็นช่วงที่ใช้จ่ายเยอะจนอาจไปก่อหนี้สินมากมาย รวมไปถึงอาจหาเรื่องทะเลาะกับคนอื่นจนเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ อีกทั้งในระยะซึมเศร้าอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตัวเอง บางครั้งอาจจะมีความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตายได้

รักษาถูกทาง ก็ห่าง ไบโพล่าร์

              โรคไบโพล่าร์ เป็นโรคที่เกิดการสารสื่อประสาทภายในสมองมีอาการผิดปกติจึงไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นต้องรับยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อใช้ปรับอารมณ์ความรู้สึกให้คงที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและอาการของผู้ป่วยด้วย และควรทำควบคู่ไปกับการไปหาจิตแพทย์ ในการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดหรือ การทำกิจกรรมบำบัดไปพร้อม ๆ กัน จะเป็นการดีต่อผู้ป่วยที่สุด ทั้งนี้ควรควบคุมดูแลผู้ป่วยให้ทานยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไม่ควรหยุดหรือลดยาเองอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะส่งผลให้มีอาการเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ลดความเครียดด้วยกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ควรงดพฤติกรรมเสี่ยงทุกประเภทด้วย

Smiling pretty young girl with bipolar disorder

              ผู้ใกล้ชิดผู้ที่เป็น Bipolar มีความสำคัญเป็นอย่างมากจะต้องเรียนรู้และเข้าใจในการช่วยดูแลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและใจดีขึ้น รวมถึงเตรียมพร้อมรับมือเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่อาจส่งผลร้ายตัวเองและผู้ป่วยด้วย

เครดิตภาพ : mgronline.com / samitivej.com / thaihealth.or.th

Youtube :

ไบโพล่าร์ อารมณ์สองขั้ว รักษาหายได้หรือไม่

โรคไบโพลาร์ ไม่ได้แปรปรวณอย่างที่คุณคิด (Bipolar)

รักษาโรค Bipolar (โรคอารมณ์เหวี่ยง) 

#ไบโพล่าร์ (Bipolar) #วิธีรักษาไบโพล่าร์ #อาการไบโพล่าร์