ติดมือถือจนกลายเป็นอ่านหนังสือทิพย์ แก้ยังไงดี

ติดมือถือจนกลายเป็นอ่านหนังสือทิพย์ แก้ยังไงดี วิธีลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก ปวดหัว

ในยุคปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาร์ทโฟนหรือมือถือนั้นได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในคนทั่วไป เพราะช่วยให้การใช้ชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้น หาข้อมูล หรือติดต่อสื่อสารได้ง่ายดายขึ้น แต่การใช้จนเกินพอดีอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งการเรียนการทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้เช่นกัน ยิ่งหยิบมือถือมาเล่นตลอดเวลาหมกมุ่นกับการอ่านหนังสือทิพย์ แม้ว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน จนรู้สึกว่าหากไม่ได้เล่นมือถือจะรู้สึกเครียด กระวนกระวายใจ คลื่นใส้ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ นั่นหมายความว่าคุณเข้าข่ายติดมือถือ เข้าแล้ว มาหาวิธีแก้ไปพร้อม ๆ กัน

แก้อาการโมโนโฟเบีย ง่าย ๆ ไม่ให้กลายเป็นคนอ่านหนังสือทิพย์

                  1. จำกัดระยะเวลาในการใช้มือถือ ขั้นแรกควรจดรายละเอียดและระยะเวลาที่ใช้โทรศัพท์มือถือในแต่ละกิจกรรม โดยอาจแบ่งออกเป็นเวลาคุย ตอบข้อความ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือฟังก์ชั่นอื่น ๆ แล้วคำนวณว่าในหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา เราใช้เวลาไปกับกิจกรรมเหล่านี้เป็นเวลาเท่าไหร่ จากนั้นลองค่อย ๆ ลดการใช้มือถือในแต่ละกิจกรรมลงเรื่อย ๆ ค่อยเป็นค่อยไป

                  2. หันมาพูดคุยกับคนรอบกายให้มากยิ่งขึ้น แม้ว่ามือถือจะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยให้เราติดต่อกันได้ง่ายดาย แต่บางคนอาจติดมือถือ จนใช้เครื่องมือสื่อสารเป็นตัวกลางในการติดต่อแม้จะอยู่ไม่ห่างกันมากนัก แม้ว่าการอยู่กับสังคมออนไลน์จะช่วยให้คลายเหงาได้บ้างเมื่อต้องอยู่ลำพังเพียงคนเดียว แต่การที่ยกมือถือขึ้นมาอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ผู้คนรอบกายกำลังพูดคุยกันอยู่จึงถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเราควรงดใช้งานในหว่างนั่งคุยกับคนอื่น นอกจากจะลดการใช้งานลงแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีได้อีกด้วย

                  3. คิดใหม่ปรับทัศนคติ เมื่อมีข้อความเข้าจากบุคคลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง เป็นต้น บางคนติดนิสัยเปิดอ่านในทันที เพราะคิดว่าอาจเป็นข้อความสำคัญ หรือเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้น ลองปรับความคิดใหม่ เพราะความเป็นจริงแล้ว ข้อความเหล่านั้นอาจจะไม่มีความสำคัญก็ได้ หากเป็นเรื่องเร่งด่วนจริง ๆ พวกเขาเหล่านั้นคงโทรศัพท์เพื่อพูดคุยคงจะรวดเร็วกว่าอย่างแน่นอน

                  4. ทำกิจกรรมอื่น ๆ ลองหางานอดิเรกที่เรามีความชอบทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองในการหยิบมือถือขึ้นมาดู เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร หรือแม้แต่การนั่งสมาธิ เป็นต้น แม้ว่าจะใช้เวลาเพียงไม่นานในการทำกิจกรรมเหล่านี้ แต่ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยแรก ๆ สำหรับคนที่ต้องการใช้มือถือให้ลดน้อยลงไปได้

โรคโนโมโฟเบีย คืออะไร

              เป็นอาการอย่างหนึ่งของคนที่ขาดมือถือไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการลืมพกติดตัว แบตหมด หรืออยู่ในที่อับสัญญาณอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจ หงุดหงิดง่าย เครียด เหงื่อออกมาก ตัวสั่น หรือบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ทั้งนี้พฤติกรรมการติดมือถือ อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องของการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์กับคนทั่วไป การใช้มือถือบ่อยจนเกินไปจนติดนิสัยก้มหน้าเพ่งจอนาน ๆ และอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้เช่นกัน อาทิ นิ้วล็อก ปวดเกร็งบริเวณคอ บ่า ไหล่ ที่ร้ายแรงคือจอประสาทตาอาจจะเสื่อมสภาพลงได้ รวมถึงหมอนรองกระดูกคอเสื่อมก่อนวัยอันควร หรือแม้แต่เส้นประสาทสันหลังบริเวณคออาจถูกดทับจนเกิดอาการชาที่มือ แขน จนไม่มีแรง ทำให้เดินเซได้ นอกจากนี้ผู้ที่เล่นมือถือเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ อีกด้วย

              เครื่องมือติดต่อสื่อสารในยุคนี้ผลิตออกมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และมีความล้ำสมัยขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้การใช้ชีวิตของเรามีความสะดวกสบายขึ้นในทุกด้าน แต่มันก็เหมือนเป็นดาบ 2 คมเช่นกันที่อาจจะย้อนกลับมาให้เรามีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แย่ลง ดังนั้นเราควรทบทวนพฤติกรรมในการใช้งานด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ของตัวเองว่าเราติดมือถือมากเกินไปหรือเปล่า และถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะใช้งานมันให้น้อยลง เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต

เครดิตภาพ : สุขภาพน่ารู้.com / pobpad.com / naewna.com

YouTube :

โรคติดมือถือ! Nomophobia ตอนที่ 1 by หมอแอมป์ 

ทำยังไงให้เลิกติดมือถือ

#อาการติดมือถือ #แก้อาการติดมือถือ #อาการโมโนโฟเบี