หากใครที่กำลังมีอัตราการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ ไม่ควรจะชะล่าใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายของเรากำลังทำงานผิดปกติ หรืออาจจะเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันและไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะได้คำแนะนำที่ดีในการรักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว อย่างถูกวิธีก่อนที่จะสายจนเกินไป
สัญญาณเตือนของร่างกายว่าอาจเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โดยปกติทั่วไปหัวใจของคนเราจะมีอัตราการเต้นอยู่ที่นาทีละประมาณ 60-100 ครั้ง แต่หากมีการเต้นที่มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที นั่นแปลว่าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งสามารถสังเกตอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น หากมีอัตราการเต้นที่สม่ำเสมออาจจะไม่เป็นอะไร แต่เต้นเร็วและช้าสลับกันไป อาจบ่งบอกได้ว่ากำลังจะเข้าสู่การเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ปัจจัยที่ทำให้หัวใจเต้นได้เร็วขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ภายนอกของหัวใจและหลอดเลือด เช่น เกิดภาวะขาดน้ำ เกิดการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีการติดเชื้อ มีไข้สูง ไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานมากจนเกินไป ท้องเสีย ถ่ายเหลวมากกว่าปกติ เกิดภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ การรับประทานยาบางประเภท หรือแม้แต่การใช้สารเสพติดที่มีฤทธิ์เข้าไปกระตุ้นหัวใจ อีกทั้งอาจจะมาจากการกินเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น และภายในหัวใจและหลอดเลือด เช่น เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน ผลังกล้ามเนื้อหัวใจมีความหนาผิดปกติ โรคหัวใจพิการมาตั้งแต่เกิด โรคลิ้นหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเกิดภาวะจากไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร เป็นต้น
การสังเกตอาการหากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ใจสั่นมากกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม วูบ หรือหมดสติ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีแรง รู้สึกหายใจลำบาก ไม่อิ่ม หรือในขณะที่เดินอยู่แล้ววูบรู้สึกคล้ายกับตกลงไปในหลุมอากาศ เป็นต้น หากพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
การรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เมื่อพบแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะทำการประเมินทางเลือกในการรักษาที่มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย ได้แก่
การใช้ยา เพื่อให้เข้าไปปรับจังหวะและการเต้นของหัวใจ จนมีความใกล้เคียงกับอัตราการเต้นปกติ ในการป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำ ลดการแทรกซ้อนและความรุนแรงจนอาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตได้
การช็อกหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า วิธีนี้เป็นการปรับจังหวะการเต้นให้กลับมาเป็นปกติ
การจี้ด้วยคลื่นวิทยุ โดยแพทย์จะทำการใช้สายสวนหัวใจ เพื่อตรวจหาตำแหน่งของความผิดปกติ จากนั้นจะจี้ด้วยคลื่นวิทยุที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานความร้อน ไปตัดวงจรที่เกิดความผิดปกติในหัวใจ ซึ่งในปัจจุบันมักใช้ร่วมกับระบบสามมิติ ช่วยให้มองเห็นตำแหน่งได้อย่างชัดเจน ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน เพิ่มโอกาสและความสำเร็จในอัตราที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร วิธีนี้แพทย์จะฝังเครื่องไว้ตรงบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ และทำการช็อกไฟฟ้าในทันทีที่มีภาวะของหัวใจห้องล่างมีการเต้นเร็วผิดปกติ จะช่วยให้การเต้นกลับมาโดยเร็ว เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนลง และผู้ป่วยที่มีหัวใจห้องด้านล่างเต้นเร็วอย่างผิดปกติ
ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อช่วยให้การบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ทำงานสอดคล่องกันทั้งห้องล่างซ้ายและขวา เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการบีบตัวของหัวใจน้อย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
แต่ถึงอย่างนั้น แคสตัสก็มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง ที่ทำให้ใครหลายคนต่างชื่นชอบ หลงรัก จนพัฒนาตัวเองกลายเป็นนักสะสม หากใครที่เข้าสู่วงการนี้แล้ว รับรองว่าจะมีสวนเล็ก ๆ ที่มีแต่กระบองเพชรสวย ๆ จัดวางเรียงอยู่เต็มบ้านอย่างแน่นอน
ภาวะหัวใจเต้นเร็วมักพบได้ในผู้สูงวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัว แต่ในปัจจุบันเริ่มเกิดขึ้นได้กับวัยทำงาน ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงควรหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ให้รีบเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยรักษาอาการได้อย่างทันถ่วงที จะทำให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยชดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
เครดิตภาพ : pobpad.com / mrgonline.com / samitivejhospitals.com
YouTube :
7 สาเหตุหัวใจเต้นเร็ว เต้นแรง ใจสั่น
สัญญาณเตือนภัย “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ”
#หัวใจเต้นผิดจังหวะ #รู้ทันโรคหัวใจ #อาการหัวใจเต้นเร็ว