หญ้าหวาน ทางเลือกของการมีสุขภาพที่ดี

หญ้าหวาน ทางเลือกของการมีสุขภาพที่ดี วิธีลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก ปวดหัว

หญ้าหวาน นับว่าเป็นพืชที่ให้ความหวานตามธรรมชาติ โดยประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดรายชื่อพืชหรือส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ให้พืชชนิดนี้นำมาผสมลงในอาหารและเครื่องดื่มได้ทานแล้วมีความปลอดภัยต่อร่างกาย มาทำความรู้จักกับหญ้าชนิดนี้กัน

กินหวานใครว่าอ้วน พืชทางเลือก เพื่อสุขภาพ

                  หญ้าหวาน มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือ Stevia จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงอยู่ระหว่าง 30-90 เซนติเมตร ลักษณะเป็นใบเดี่ยวรูปใบหอกกลับ ส่วนขอบหยัก มีดอกออกช่อสีขาว คล้ายกับต้นโหระพา ชื่นชอบอากาศหนาวเย็นอยู่ที่ประมาณ 20-26 องศา และขึ้นได้เป็นอย่างดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-700 เมตร

                  หญ้าชนิดนี้ถูกนำมาปลูกครั้งแรก ใน ปี พ.ศ. 2518 นิยมปลูกกันในภาคเหนือของประเทศไทย โดยใบแห้ง หากนำไปสกัดด้วยน้ำจะให้สารที่มีความหวานประมาณ ร้อยละหนึ่ง ซึ่งมากกว่าน้ำตาลทราย 150-300 เท่า คงตัวได้ดีในตัวทำละลาย มีกรดและเบสอ่อน ทนความร้อนได้กว่า 200 องศาเซลเซียส จึงไม่มีตัวละลายที่จะสามารถเปลี่ยนสภาพได้แม้จะนำไปปรุงเป็นอาหารก็ตาม ไม่มีพิษ อีกทั้งมีความปลอดภัยในการนำมาบริโภค

สตีวิออลไกลโคไซด์ สารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน

              สารสกัดบริสุทธิ์ เป็นสารประกอบไกลโคไซด์ ในกลุ่มไดเทอพีน ที่เรียกว่า สติวิออไกลโคไซด์ มีลักษณะเป็นผงขาวหรือสีเหลืองอ่อน ซึ่งสารนี้ได้มีการอนุญาตให้ใช้แทนน้ำตาลในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 30 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ออสเตเลย แคนนาดา นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น และมีแนวโน้มว่าจะมีการนำมาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกหลาย ๆ ประเทศ โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐ และในกลุ่มของประเทศยุโรป ได้รับรองให้สารสกัดจากหญ้าชนิดนี้ เป็นส่วนผสมลงในเครื่องดื่มได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และ 2554

              ในส่วนของประเทศไทย ก็ได้มีกระกาศจากกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้ผลิต และจำหน่ายหญ้าหวานในประเทศไทย อีกทั้งยังมีประกาศในเรื่องของสารสตีวิโอไซด์ และอาหารที่มีส่วนผสมของสตีวิโอไซด์ และประกาศให้สารสกัดสติวิออลไกลโคไซด์เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ โดยที่ประกาศเหล่านี้ได้อ้างอิงมาจากข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร ขององค์การอาหารและเกษตร รวมถึงองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดค่าความปลอดภัยเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

              ในปัจจุบันบ้านเรามีการผลิตสารสตีวิออลไกลโคไซด์ในอุตสาหกรรม เพื่อลดการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งกระบวนการผลิตได้มาจากการวิจัยและพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดเลือก ดูแล และปรับปรุงสายพันธุ์ มีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับซื้อทั้งใบสดและแห้ง นำมาเป็นวัตุดิบในการสกัดสารบริสุทธิ์นี้ เพื่อนำออกไปจำหน่ายให้ผู้ผลิตเครื่องดื่ม อาหารทั้งในและต่างประเทศ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน

              หญ้าหวาน เป็นสารที่ใช้แทนน้ำตาล มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ช่วยเพิ่มผลิตอินซูลิน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงตับ บำรุงกำลัง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดแบคทีเรียในช่องปาก ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และป้องกันฟันผุ เป็นต้น ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มของคนรักสุภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมน้ำหนักด้วย

เครดิตภาพ : pobpad.com / theasiaparent.com / my-best.in.th

YouTube :

หญ้าหวาน ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ

 หญ้าหวานลดน้ำตาลในเลือดจริงหรือไม่ สำหรับคนเป็นเบาหวาน 

#หญ้าหวาน #สุขภาพดีกับหญ้าหวาน #ประโยชน์หญ้าหวาน