อาหารที่อุดมไปด้วยมีเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป เมล็ดพืชขัดสี และเครื่องดื่มชนิดหวาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบภายในร่างกายนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้เมื่อเทียบกับอาหารต้านการอักเสบทั้งนี้เป็นผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และมีความสอดคล้องกับการศึกษาถึงผลดีของการรับประทานวอลนัทซึ่งเป็นอาหารต้านการอักเสบจะช่วยลดการอักเสบและความเสี่ยงโรคหัวใจ
มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการอักเสบอย่างเรื้อรังมีบทบาทสําคัญในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ สิ่งบ่งชี้การอักเสบทางชีวภาพเช่น อินเตอร์ลูกินส์ คีโมกินส์ และโมเลกุลยึดเกาะ มักพบในภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว ทั้งระยะต้นและปลาย การศึกษาก่อนหน้านี้ระบุว่าอาหารมีอิทธิพลต่อระดับการอักเสบ โดยมีอาหารเพื่อสุขภาพบางชนิดเช่นอาหารเมดิเตอร์เรเนียน (ซึ่งอุดมไปด้วยน้ำมันมะกอก นัท ธัญพืชทั้งเมล็ด ผลไม้ และผัก ประกอบกับการบริโภคอาหารทะเล แล้วรับประทานนมและเนื้อแดงน้อย) ที่มีสิ่งบ่งชี้การอักเสบทางชีวภาพในระดับต่ำ และจะมีความเสี่ยงโรคหัวใจต่ำ แต่ทว่ามีการวิจัยน้อยมากที่มุ่งเน้นไปที่ว่าการติดตามการรับประทานอาหารที่ชักนำการอักเสบในระยะยาว เพื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องกับอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
การศึกษาในระยะยาวเกี่ยวกับความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
ในการศึกษา นักวิจัยใช้บุคคลเพศชายและหญิงที่มีข้อมูลสุขภาพที่ติดตามผลนาน 32 ปี จากนั้นตัดบุคลที่ข้อมูลอาหารขาดหายไปหรือป่วยเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคมะเร็ง จะเหลือจำนวนผู้เข้าร่วมมากกว่า 210,000 คน โดยผู้เข้าร่วมจะถูกสํารวจทุก ๆ 4 ปีเพื่อตรวจสอบการบริโภคอาหาร ทั้งนี้นักวิจัยได้พัฒนาค่าดัชนีอาหารเพื่อประเมินระดับการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร และพบว่า อาหารที่มีศักยภาพก่อการอักเสบที่สูงขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับอัตราที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งผู้เข้าร่วมที่รับประทานอาหารชักนำให้เกิดการอักเสบมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงถึง 46% และ ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้น 28% เมื่อเทียบกับผู้ที่บริโภคอาหารต้านการอักเสบ
อาหารแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
นักวิจัยแนะนําให้บริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและเส้นใยในระดับที่สูงขึ้นเพื่อช่วยต่อสู้กับการอักเสบลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ผักใบเขียว (ผักคะน้า ผักโขม กะหล่ำปลี) ผักสีเหลือง (ฟักทอง พริกเหลือง ถั่วแครอท) ธัญพืชทั้งเมล็ด กาแฟ ชา และไวน์ อีกทั้งแนะนําให้จํากัดการบริโภคน้ำตาลทรายบริสุทธิ์ ธัญพืชขัดสี อาหารทอด น้ำอัดลม และจํากัดเนื้อสัตว์สีแดง และเครื่องในสัตว์ ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่สนับบสนุนให้เกิดการอักเสบ นอกเหนือจากการศึกษาข้างต้น มีนักวิจัยอีกกลุ่มที่ศึกษาในผู้เข้าร่วมทั้งหมด 634 คน ที่ได้รับทั้งอาหารที่ไม่มีวอลนัทหรืออาหารที่มีวอลนัท เป็นประจํา (ประมาณ 30-60 กรัมต่อวัน) หลังจากติดตามผลเป็นเวลา 2 ปี ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีวอลนัทแสดงให้เห็นระดับการอักเสบในร่างกายลดลงอย่างมีนัยสําคัญ
อาหารที่มีเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป เมล็ดพืชขัดสี และเครื่องดื่มชนิดหวาน นั้นมีผลต่อการอักเสบที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย และยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าอาหารที่ต้านการอักเสบ ทั้งนี้การรับประทานวอลนัทซึ่งเป็นอาหารต้านการอักเสบมีผลทำให้การอักเสบลดลง และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่ำลง
เครดิตภาพ pixabay.com
#โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง #ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ #อาหารเสี่ยงโรค