ข้อมูลด้านโภชนาการของคนไทย ระบุว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 22 ช้อนชา หรือเฉลี่ยคนละ 30 กิโลกรัมต่อปีเลยทีเดียว เหตุผลก็มาจากอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ มักมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่มาก เพราะฉะนั้นเวลาเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรือเครื่องดื่ม ผู้บริโภคควรอ่านฉลากที่ติดอยู่บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ทราบปริมาณของน้ำตาลในอาหารหรือเครื่องดื่มนั้นๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด และจะได้เลือกทานได้อย่างเหมาะสม
นอกจากน้ำตาลจากธรรมชาติที่พบได้ในผลไม้และนมแล้ว น้ำตาลที่พบในอาหารต่างๆ ก็อาจจะเป็นน้ำตาลรูปแบบอื่นๆ เช่น น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมฟรุกโทส และกากน้ำตาลซึ่งจะแตกต่างจากน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติ คือ เป็นพลังงานที่ว่างเปล่า ไม่มีวิตามิน แร่ธาตุ หรือกากใยอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบริโภคน้ำตาลเกินเกณฑ์ที่กำหนด แต่น้ำตาลไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตามล้วนแต่ให้พลังงานที่สูงอยู่ดี โดยส่วนมากหากอาหารและเครื่องดื่มชนิดไหน ที่บนฉลากมีค่าของน้ำตาลอยู่ในระดับต้นๆ ก็มักจะเป็นอาหารที่มีน้ำตาลสูงนั่นเอง
ไขมันของแถมจากน้ำตาล
อาหารที่มีรสชาติหวานอย่าง ไอศกรีม คุกกี้ เค้ก หรือ ขนมต่างๆ นอกจากจะมีปริมาณของน้ำตาล ครีม และเนย มากแล้ว ก็มักมีส่วนประกอบของไขมันรวมอยู่ด้วย โดยไขมันเป็นสิ่งที่ทำให้อาหารอร่อยขึ้น หากได้ความหวานจากน้ำตาลรวมไปด้วย อาหารชนิดนั้นก็จะมีความอร่อยมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถกินได้มากกว่าปกติ แต่การทานอาหารชนิดที่มีไขมันและน้ำตาลสูงนี้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่สูงมากขึ้นด้วย เนื่องจากไขมันให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม และน้ำตาลให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม ดังนั้นการทานอาหารประเภทนี้บ่อยๆ ย่อมทำให้น้ำหนักตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
น้ำตาลในอาหารหวานลวงร่างกาย
น้ำตาลเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานในร่างกายและการทานอาหารของมนุษย์เนื่องจาก น้ำตาลจะมีค่าดัชนีน้ำตาล หากในมื้ออาหารนั้นรับประทานอาหารที่มี ค่าดัชนีน้ำตาลสูง นั้นหมายถึงว่า หลังจากรับประทานไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมอาหารนั้นได้เร็ว ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตับอ่อนจึงต้องหลั่งฮอร์โมนอินซูลินให้มากขึ้นเพื่อเซลล์จะได้นำน้ำตาลน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนไปใช้เป็นพลังงานได้ และหลังจากนั้นระดับน้ำตาลน้ำตาลจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ฉะนั้นเมื่อระดับน้ำตาลน้ำตาลลดต่ำลง สมองจะสั่งการว่าถึงเวลากินอาหารแล้ว เพื่อให้ไปปรับความสมดุลของระดับน้ำตาลในร่างกาย จึงทำให้อยากกินอาหารรสหวานมากขึ้นถึงแม้ว่าในความจริงอาจจะไม่หิวก็ตาม อาหาiที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเช่น ลูกอม น้ำอัดลม คุกกี้ เค้ก ขนมหวานต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเป็นอาหาร เพราะทำให้อิ่มนาน ระหว่างมื้ออาหารจะไม่รับประทานจุกกินจิก โดยส่วนมากมักพบในอาหารที่มีกากใยสูง หวานน้อย และในพืชผักหลายชนิด
นอกเหนือจากน้ำตาลที่สามารถพิจารณาจากฉลากโภชนาการโดยตรงแล้ว สิ่งที่ควรระมัดระวังอีกประการคือ อาหารขนาดหรือปริมาณพิเศษ โดยเฉพาะร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดมักมีการเอาใจผู้บริโภค ด้วยการมีโปรโมชั่นเพิ่มเงินเพียงไม่กี่บาทก็สามารถเพิ่มขนาดของอาหารและเครื่องดื่มได้ หรือเรียกว่าเป็นการอัพไซด์นั้นเอง ซึ่งผู้บริโภคส่วนมากก็ดูจะพอใจกับข้อเสนอนี้ แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณของน้ำตาลเพิ่มขึ้นมากไปด้วยนั้นเอง เมื่อได้รับพลังงานที่สูงขึ้นและหากเผาผลาญออกได้ไม่หมด เมื่อบ่อยๆเข้าก็อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนได้ โดยเฉพาะในเด็กที่ชอบทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดแบบนี้
เครดิต pixabay.com
#น้ำตาลซ่อนรูป #การบริโภคน้ำตาล #เคล็ดลับสุขภาพดี