ประชากรไทยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการทางจิตเวช บางรายรู้ตัวว่าป่วย บางรายไม่รู้ตัว แต่ที่น่ากลัวคือบางรายเกิดการสบสนระหว่างการป่วยทางจิต แต่คิดว่าป่วยเป็นโรคทางกาย เมื่อเข้ารับการตรวจรักษากลับไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด โรคทางจิตเวชเหล่านี้มีการพยายามหาทางรักษามานานหลายร้อยปีแล้ว ในช่วงปี ค.ศ. 1930-1990 ได้มีการสร้างโรงพยาบาลจิตเวชขึ้นมาหลายแห่งทั่วโลก ส่วนโรคที่พบได้บ่อย คือ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ที่ทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นฆ่าตัวตายมาแล้วเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันแม้ว่าจะค้นพบวิธีการรักษาได้หลากหลาย ช่วยให้สถิติการฆ่าตัวตายลดน้อยลง แต่หากผู้ป่วยไม่รู้ตัวเอง สถิติการฆ่าตัวตายก็จะยังคงมีอยู่ให้เห็น
ปัจจุบันโรคทางจิตเวชได้เปลี่ยนแปลงเป็นโรคแปลกใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่กระทบภายในจิตใจ บางครั้งอาจจะไม่รุนแรง หรืออาจจะรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ หากคิดว่าตัวเองเข้าข่ายมีความเสี่ยงของโรค ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาจะดีกว่า มาดูกันว่าอาการทางจิตเวชที่พบเป็นประจำมีอะไรบ้าง
1. โรคหิวตอนดึก เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน และความเครียดในระหว่างวัน ซึ่งอาการนี้ในช่วงกลางวันจะไม่รู้สึกว่าหิว ส่วนตอนกลางคืนจะหิวจนนอนไม่หลับ ต้องหาอะไรทานก่อนนอน และจะทานได้มากกว่ามื้อปกติกว่า 3 เท่า เป็นนิสัยและพฤติกรรมที่ทำทุกวันจนเกิดความเคยชิน หากปล่อยไปเรื่อย ๆ อาจจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิต กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ เป็นต้น
2. โรคเตียงดูด อาการทางจิตเวชที่เกิดจากปัญหาด้านการนอนที่นอนไม่เพียงพอ นอนไม่เต็มอิ่ม ความเครียด ซึมเศร้า มีพฤติกรรมไม่อยากตื่นนอน หรือลุกออกจากที่นอน ขี้เกียจ และไม่อยากทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือหากจะทำก็ทำบนเตียงเท่านั้น ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสารอาหาร โรคภูมิแพ้ เป็นต้น
3. โรคกลัวความรัก เป็นโรคที่พบได้จากการที่ผิดหวัง อกหัก จนส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง จนทำให้ไม่อยากเริ่มความสัมพันธ์ใหม่ แต่หากส่งผลต่อการดำรงชีวิตจนไม่กล้าเข้าสังคม หรือพูดคุยกับคนรอบข้างได้ ผลข้างเคียงต่อร่างกาย เช่น มีเหงื่อมาก หายใจติดขัดและเต้นเร็วผิดปกติ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาทางรักษา
4. โรคทำดีไม่พอ เป็นอาการทางจิตเวชที่เกิดจากความคิดว่าตัวเองยังทำดีได้ไม่พอ ในภาวะของแข่งขันด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของความรัก การทำงาน การเรียน ที่ต้องการความสมบูรณ์แบบที่สุด จนเกิดความกดดัน และโทษตัวเองอยู่เสมอหากทำผิดพลาด จนเกิดความวิตกกังวล จนสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ส่งผลให้ร่างกายตอบสนองในทางลบเพิ่มมากขึ้น ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพราะปล่อยทิ้งไว้อาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
5. โรคบ้าซื้อของ เกิดจากอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ การซื้อของจึงเป็นตัวช่วยในการลดความวิตกกังวล หรืออาจจะเกิดจากมีภาวะของการซึมเศร้า สมาธิสั้น ไม่ภูมิใจในตัวเอง จะรู้สึกดีเมื่อได้เปรียบเทียบราคา และมีความสุขเมื่อได้ซื้อ หากวันไหนไม่ได้เลือกซื้อจะรู้เครียด หงุดหงิด กระวนกระวาย เป็นต้น
6. โรคขาดมือถือไม่ได้ หากอยู่ห่างจากมือถือสัก 30-60 นาทีจะรู้สึกไม่สบายใจ ก่อนนอนหรือหลังจากตื่นนอนต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูทันที พกติดตัวไว้ตลอดเวลา และเล่นในระหว่างที่ทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น เข้าห้องน้ำ รอรถ กินข้าว เป็นต้น ทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมการเล่นมือถือมากจนเกินไป หากแบตเตอรี่หมดหรือไม่มีสัญญาณจะรู้สึกหงุดหงิด บางรายที่มีอาการหนัก ๆ อาจจะคลื่นไส้ กระวนกระวาย เป็นโรคซึมเศร้าจากการขาดมือถือ
7. โรคติดน้ำตาล เกิดจากการชอบทานของหวาน ๆ เมื่อน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย จะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา ทำให้มีพอใจในการกิน หากไม่ได้กินจะรู้สึกหงุดหงิด สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน จนเกิดเป็นซึมเศร้า ที่สำคัญอาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคกระดูก โรคหัวใจ และโรคอ้วน เป็นต้น
อาการทางจิตเวช ผู้ป่วยอาจมีอาการมากน้องไม่เท่ากัน บางรายรู้เท่าทันก็สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง แต่ในบางรายที่ไม่รู้ตัว เกิดการสะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน และติดเป็นนิสัย โรคนั้นอาจจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องเข้ารับการรักษา หรืออาจจะร้ายแรงจนถึงขั้นคิดสั้นฆ่าตัวตาย รีบเช็คอาการแล้วทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันว่าตัวเองเสี่ยงเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่
เครดิตภาพ : sanook.com / beartai.com / wegolnter.com
https://www.youtube.com/watch?v=rzB-XRJ2uYE Check List สัญญาณเตือนเข้าข่ายเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่
#7 อาการทางจิตเวช #โรคแปลก #โรคทางจิตแปลกๆ