อะโวคาโดวันละผลช่วยดูแลสุขภาพ

อะโวคาโดวันละผลช่วยดูแลสุขภาพ

การรับประทานอะโวคาโดเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวัน สามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพของลำไส้เพราะอะโวคาโดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีใยอาหารและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าอะโวคาโดกับจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้   การรับประทานอะโวคาโดช่วยให้รู้สึกอิ่มและลดความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่สิ่งที่ต้องศึกษาต่อมาก็คือ อะโวคาโดมีผลอย่างไรต่อจุลินทรีย์ในลำไส้และสารเมตาบอไลต์ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น

เมื่อทดลองรับประทานอะโวคาโดวันละมื้อ 

การศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลินอยส์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจผลของการบริโภคอะโวคาโดต่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร   โดยต้องการทดสอบสมมติฐานที่ว่าไขมันและเส้นใยในอะโวคาโดส่งผลในเชิงบวกต่อจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร  นอกจากนี้ ยังต้องการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้กับผลลัพธ์ด้านสุขภาพด้วย  การศึกษานี้ใช้ผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้ใหญ่ 163 คน มีอายุระหว่าง 25 ถึง 45 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน (มีค่าดัชนีมวลกายอย่างน้อย 25 กก./ ตร.ม.) พวกเขาได้รับอะโวคาโดหนึ่งมื้อต่อวัน เพื่อบริโภคทดแทนอาหารเช้า กลางวัน หรือเย็น กลุ่มหนึ่งบริโภคอะโวคาโดในแต่ละมื้อ ในขณะที่กลุ่มควบคุมรับประทานอาหารที่คล้ายกัน แต่ไม่มีอะโวคาโด ผู้เข้าร่วมจะถูกตรวจเลือด ปัสสาวะ และอุจจาระตลอดการศึกษา 12 สัปดาห์ 

อะโวคาโดมีบทบาทกับจุลินทรีย์ในลำไส้

นักวิจัยพบว่าคนที่รับประทานอะโวคาโดทุกวันโดยเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารจะมีจุลินทรีย์ในลำไส้จำนวนมากขึ้น ซึ่งจะสร้างสารที่สนับสนุนสุขภาพของลำไส้ และคนกลุ่มนี้ยังมีความหลากหลายของจุลินทรีย์มากขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับประทานอะโวคาโด  สารที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมีผลต่อสุขภาพ และการบริโภคอะโวคาโด ช่วยลดกรดน้ำดี และเพิ่มกรดไขมันสายสั้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ  อะโวคาโดอุดมไปด้วยไขมัน อย่างไรก็ตามนักวิจัยพบว่าในขณะที่กลุ่มอะโวคาโดบริโภคแคลอรี่มากกว่ากลุ่มควบคุมเล็กน้อย แต่ไขมันจะถูกขับออกทางอุจจาระมากกว่าเล็กน้อยด้วย   การขับไขมันออกมากขึ้นหมายความว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยดูดซึมพลังงานจากอาหารที่รับประทานน้อยลง ทั้งนี้เป็นเพราะการลดกรดน้ำดีซึ่งเป็นโมเลกุลที่ระบบย่อยอาหารหลั่งออกมาให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้  ซึ่งผลพบว่า ในกลุ่มที่รับประทานอะโวคาโดมีปริมาณของกรดน้ำดีในอุจจาระลดลงและปริมาณไขมันในอุจจาระสูงกว่า   ทั้งนี้ไขมันในอะโวคาโดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อหัวใจ  ส่วนใยอาหารที่ละลายน้ำก็มีความสำคัญเช่นกัน อะโวคาโดขนาดกลางให้ใยอาหารประมาณ 12 กรัม  คนอเมริกันน้อยกว่า 5% ที่ได้รับใยอาหารเพียงพอ  คนส่วนใหญ่บริโภคใยอาหารประมาณ 12 ถึง 16 กรัมต่อวัน ดังนั้นการผสมผสานอะโวคาโดในอาหารช่วยทำให้ได้รับใยอาหารใกล้เคียงกับปริมาณที่แนะนำใน 1 วัน

การรับประทานอะโวคาโดเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวันสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพของลำไส้ได้ อะโวคาโดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีเส้นใยอาหารและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง แม้จะยังไม่ชัดเจนว่าอะโวคาโดมีผลต่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารหรือ ‘ลำไส้’ อย่างไร  แต่การรับประทานอะโวคาโดทุกวันส่งผลดีต่อสุขภาพแน่นอน

เครดิตภาพ : pixabay.com

#อะโวคาโด #ทริคสุขภาพดี #อาหารสุขภาพดี

ไข่ต้ม อาหารชั้นดี กินง่ายอร่อยทุกเมนู

ไข่ต้ม อาหารชั้นดี

สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ศึกษาวิจัยการรับประทานไข่ในคนไทยที่เป็นคนวัยทำงานจำนวนประมาณ 200 คน โดยมีอายุระหว่าง 20-55 ปี โดยให้อาสาสมัครรับประทานไข่ต้มทุกวัน วันละ 1-2 ฟองเป็นเวลา 10-12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ระดับคลอเลสเตอรอลตัวไม่ดี (LDL-C) มีค่าลดลงเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่รับประทานไข่ไก่ทุกวัน ในทางกลับกันคลอเลสเตอรอลตัวที่ดี (HDL-C) มีแนวโน้มที่มากขึ้นเมื่อรับประทานไข่อย่างต่อเนื่อง สันนิษฐานว่าเกิดจากผลของสาร “เลซิติน” ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในไข่แดง   และเมื่อศึกษาภาวะโปรตีนและไขมันในกลุ่มเด็กประถมกว่า 400 คนในเขตชนบท ด้วยการให้เด็กทั้งหมดได้รับประทานไข่ต้มเป็นอาหารเสริมไปจากอาหารกลางวันปกติที่โรงเรียนจัดให้ ไม่ว่าเด็กเหล่านั้นจะขาดโปรตีนหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า การรับประทานไข่ 3 ฟองต่อสัปดาห์ ก็เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาขาดโปรตีนในเลือดได้เกือบ 100% นอกจากนี้ ในเด็กที่มีโปรตีนในเลือดปกติอยู่แล้ว เมื่อรับประทานไข่เสริมไปอีก ก็จะยิ่งทำให้ระดับโปรตีนในเลือดสูงขึ้นไปอีก ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดีเนื่องจากในวัยเด็กต้องการสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต ไข่ต้ม อาหารทำง่ายที่มีคุณค่า ไข่ต้มเป็นไข่ที่ทำให้สุกโดยยังคงเปลือกไข่นั้นอยู่ โดยทั่วไปทำให้สุกผ่านการต้มในน้ำเดือด ไข่ต้มเป็นอาหารเช้าที่ได้รับความนิยมทั่วโลก  ตัวแปรที่มีผลต่อการสุกของไข่ต้มได้แก่ ระยะเวลาการต้ม  ไข่ต้มจะมีลักษณะต่างกันอย่างมากเมื่อใช้ระยะเวลาในการต้มแตกต่างกัน หากต้องการให้ทั้งไข่ขาวและไข่แดงแข็งจะใช้เวลา 10–12 นาที หากต้องการให้ทั้งไข่ขาวแข็งและไข่แดงนิ่มจะใช้เวลา […]

ไข่ต้ม อาหารชั้นดี Read More »

ข้อแนะนำในการรับประทานผัก ในประเทศไทย

ข้อแนะนำในการรับประทานผัก

ในประเทศไทยนั้น มีข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยที่แนะนำให้บริโภคผักวันละ 4 – 6 ถ้วยตวง หรือ 4 – 6 ทัพพี ซึ่งจะช่วยทำให้ได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของร่างกาย สำหรับปริมาณผักที่แนะนำนั้นขึ้นกับวัยและเพศด้วย  กล่าวคือ เด็กควรรับประทานผัก วันละ 4 ถ้วยตวงหรือ 4 ทัพพี หญิงวัยทำงานและผู้สูงอายุควรรับประทานผักวันละ 6 ถ้วยตวงหรือ 6 ทัพพี วัยรุ่นและชายวัยทำงาน ควรรับประทานผักวันละ 5 ถ้วยตวง หรือ 5 ทัพที ส่วนผู้ที่ต้องใช้พลังงานมากๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา เป็นต้น ควรรับประทานผักวันละ 6 ถ้วยตวงหรือ 6 ทัพพี   ถ้วยตวงที่กล่าวถึงนี้เป็นถ้วยตวงพลาสติกที่มีความจุเมื่อนำไปตวงน้ำ เท่ากับ 220 กรัม หรือ 220 มิลลิลิตร ทั้งนี้ผัก 1 ถ้วยตวงหรือ

ข้อแนะนำในการรับประทานผัก Read More »

เห็ด อร่อยและมีคุณค่า ทุกคนควรกิน

เห็ด อร่อยและมีคุณค่า

เห็ด เป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ ที่มีความโดเด่นในเรื่องของรสชาติและเนื้อสัมผัส แต่นอกเหนือ จากความอร่อยแล้ว เห็ดยังให้คุณค่าทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยา ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยเห็ดมีสารพฤกษเคมีที่เรียกว่า โพลีแซคคาไรด์  สารนี้จะทำงานร่วมกับแมคโครฟากจ์ ซึ่งเป็นเซลล์คุ้มกันขนาดใหญ่ที่ออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อและจะไปจับกับโพลีแซคคาไรด์ที่บริเวณกระเพาะอาหาร และนำไปส่งยังเซลล์คุ้มกันตัวอื่นๆ เพื่อช่วยกระตุ้นวงจรการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมและช่วยเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพของเซลล์คุ้มกันธรรมชาติ ให้ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆ ด้วย ความโดดเด่นของเห็ด เห็ดเป็นอาหารที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เมื่อเทียบกับพืชผักอีกหลายชนิด อีกทั้งยังมีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน ซึ่งรสชาติที่โดดเด่นนี้ มาจากการที่เห็ดมีกรดอะมิโนกลูตามิคเป็นองค์ประกอบ โดยกรดอะมิโนตัวนี้จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นให้ไวกว่าปกติ และทำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์   นอกจากนี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามินบีรวม (ไรโบฟลาวิน) และไนอาซิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร  อีกทั้งยังมีเกลือแร่ที่สำคัญ เช่น ซิลิเนียม ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โปแตสเซียม ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ สมดุลของน้ำในร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทต่างๆ ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ และอัมพาต ส่วนทองแดง ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของธาตุเหล็ก เห็ดแดดเดียว ถึงแม้ว่าเนื้อสัตว์ประเภทหมูหรือเนื้อจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ แต่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าอาหารประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทพืชผัก ซึ่งสามารถเป็นแหล่งโปรตีที่ดีไม่แพ้กัน อย่างเช่น เห็ด ซึ่งมีเกลือแร่ในปริมาณที่สูงกว่าเนื้อวัว

เห็ด อร่อยและมีคุณค่า Read More »

กะทิดีไม่มีอ้วน หากเราเลือกรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

กะทิดีไม่มีอ้วน

กะทิเกิดจากการนำเนื้อของผลมะพร้าวแก่มาบีบคั้นเอากะทิออกมา  กรดไขมันไม่อิ่มตัวในกะทิมีไม่เกิน 10% ได้แก่ กรดโอเลอิค และกรดไลโนเลอิค  แต่มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวมากกว่า 90% คือ กรดลอริค  40-50% กรดไมริสติค 13-19% และกรดปาล์มิติก 4-18%  ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวมีขนาดสั้นและปานกลาง จึงถูกย่อยได้ง่าย แล้วถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับโดยไม่ไปสะสมเป็นไขมันแบบกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่  อีกทั้งยังไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น และนี่ที่เป็นเหตุผลว่าคนในสมัยโบราณไม่ค่อยมีคนอ้วน แม้จะรับประทานกะทิที่อยู่ในอาหารทั้งคาวและหวาน เทคนิคการใช้กะทิในอาหาร เวลาทำแกงกะทิ อย่าราดหน้าแกงด้วยน้ำมันพืช แค่เคี่ยวกะทิให้แตกมันก็เพียงพอแล้ว   ส่วนกะทิราดหน้าขนมหวานนั้น ใช้หัวกะทิตั้งไฟให้แค่พอเดือด หมั่นคน อย่าให้แตกมัน เติมเกลือป่นนิดหน่อยยกลง ก็อร่อยมันเข้มข้นแล้ว ที่สำคัญอย่าเติมแป้ง     ในการประกอบอาหารที่ต้องใส่กะทิ ให้พยายามใส่กะทิสด เพราะมั่นใจได้ 100% ว่าเป็นกะทิแท้ๆ ไม่ผสมแป้ง และจำไว้ว่าอย่าใส่นมสดแทนกะทิ   เวลาไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ถ้าต้องสั่งต้มยำให้สั่งต้มยำน้ำใส เพราะต้มยำน้ำข้นมักใส่นมสดหรือครีมเทียม ประโยชน์ของกะทิต่อสุขภาพร่างกาย ในกะทิมีกรดลอริค ซึ่งเป็นกรดที่สามารถช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย และต่อต้านเชื้อราภายในร่างกาย กะทิช่วยลดการสะสมของไขมัน เพราะเมื่อบริโภคกะทิเข้าไปแล้วนั้น กะทิจะมีส่วนในการช่วยดึงไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ถูกสะสมไว้ไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อีกด้วย

กะทิดีไม่มีอ้วน Read More »

กิน Keto ดีต่อลดน้ำหนักจริงหรือ เป็นวิธีการลดน้ำหนักอีกรูปแบบหนึ่ง

กิน Keto ดีต่อลดน้ำหนักจริงหรือ?

อยากลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย…ส่งผลยังไงบ้าง การลดน้ำหนัก แบบคนยุคใหม่กับการควบคุมอาหารแบบใหม่ นั้นคือการทานแบบ คีโต Keto นั้นเอง  ว่าแต่อะไรคือ คีโต แล้วจริงหรือไม่ที ยิ่งทานเข้าไปยิ่งลดน้ำหนัก  ถ้าการออกกำลังกายไม่ใช่ทางออกสำหรับคนอย่างเราๆ เพราะมันเหนื่อยมากเกินไป อาจจะถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแนวทางในการลดน้ำหนักของพวกเรากันเสียที นั่นคือการหันมาคิดที่จะเริ่มควบคุมอาหารนั้นเองครับ วันนี้ตัวของผมจะมาขอนำเสนอทางออกสำหรับผู้คนที่อยากจะลดน้ำหนักนะครับ นั้นคือ การทานแบบคีโต Ketogenic Diet นั้นเอง. เป้าหมายของการลดน้ำหนัก…ด้วยการกินคีโต ทานตามใจปาก แต่น่าแปลกใจที่ว่า ทำไมน้ำหนักถึงลดลงได้ นั่นคงเป็นคำถามที่หลายคนอยากถามคนที่เขาหุ่นดีๆ กันอย่างแน่นอน และสุดท้ายก็ได้คำๆ หนึ่งมานั้นคือคำว่า การทานเพื่อลดน้ำหนัก หรือการควบคุมอาหารแบบ คีโต หรือ Ketogenic แล้วอะไรคือการทานอาหารหรือการควบคุมการทานอาหารแบบ Ketogenic Diet  ละ .  การทานอาหารหรือการควบคุมอาหารแบบคีโตนั้นเริ่มจะเป็นที่รู้จักในวงการของคนที่จะเริ่มลดน้ำหนักหรือคนที่จะลดไขมันลงนั้นเอง  ชื่อเต็มๆ ของคีโตคือ Ketogenic Diet  นั้นเอง  มันคือการทานอาหารถเข้าไปเพื่อที่จะลดน้ำหนักนั้นเอง หรือมันเป็นการทานไขมันดีเข้าไปเพื่อทำลายไขมันไม่ดีในร่างกาย ซึ่งไขมันนั้นสามารถแยกออกได้ว่าเป็นไขมันที่ดีและไขมันที่ไม่ดี ไขมันที่ไม่ดี ( Low Density Lipoprotein) คือไขมันที่ทำลายสุขภาพร่างกายของคนเรา 

กิน Keto ดีต่อลดน้ำหนักจริงหรือ? Read More »

สลัดแซ่บ เพื่อสุขภาพและรสชาติที่ลงตัว

สลัดแซ่บ

คนที่อยู่ในเมืองใหญ่คงเคยมีความรู้สึกเบื่ออาหารจำพวกเนื้อสัตว์  ทั้งหมูเห็ดเป็ดไก่ เห็นแล้วพาลจะโยนทิ้งไปทั้งจานก็มี  แต่กลับรู้สึกว่าอยากรับประทานอะไรที่เผ็ดๆ แซ่บๆ สดๆ ซึ่งไม่พวกกุ้งเต้น ลาบแดง หรือยำเนื้อน้ำตกสีแดงฉาน (อาหารที่ยังสดไม่ผ่านความร้อนพวกนี้จะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคหรือพยาธิเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย)  สิ่งที่รู้สึกว่าอยากรับประทานมากๆ กลับเป็นอาหารจำพวกผักสด หรือสลัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอาหารที่คนในเมืองใหญ่รับประทานกันอยู่เป็นประจำมักเน้นที่ที่เนื้อสัตว์ ไม่ค่อยได้รับประทานผัก หรือไม่ก็เจอแต่ผัดผัก หรืออย่างดีก็แตงกวาที่ใส่มากับข้าวมันไก่  คนในเมืองหลวงรวมถึงเมืองใหญ่ๆ ส่วนใหญ่ก็มักอยากไปอยู่อาศัยตามต่างจังหวัดหรือในชนบท  อยากจะไปเก็บผักพื้นบ้านตามธรรมชาติ ตามริมรั้ว มารับประทาน เพราะต่างก็เบื่อมลพิษ เบื่ออาหาร และเบื่อการจราจรที่ติดขัดเต็มประดา  น้ำสลัดรสชาติแบบไทยๆ การที่สลัดผักจานหนึ่งจะมีความดึงดูดใจให้น่ารับประทานนั้น  นอกเหนือจากผักที่ประกอบอยู่ในจานนั้นแล้ว น้ำสลัดก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความอยากรับประทานขึ้นได้   ปกติแล้วน้ำสลัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำส้มสายชูกับเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น น้ำตาล เกลือ น้ำมะนาว ตีผสมให้เข้ากันดี อาจเติมน้ำมันสลัด น้ำมันพืช แป้งข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น น้ำนมสด นมข้นหวาน และอาจเติมผักผลไม้ ไข่ไก่ สมุนไพร เครื่องเทศเ ช่น พริกไทย กระเทียม ลงไปให้มีกลิ่นรสที่น่ารับประทาน   แต่ทว่าการไปหารับประทานสลัดตามร้านอาหาร ก็จะได้แต่สลัดผักที่ใช้น้ำสลัดสไตล์ตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นน้ำสลัดครีม 

สลัดแซ่บ Read More »

น้ำตาลซ่อนรูป คนไทยบริโภคน้ำตาลค่อนข้างมาก

น้ำตาลซ่อนรูป

ข้อมูลด้านโภชนาการของคนไทย ระบุว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 22 ช้อนชา หรือเฉลี่ยคนละ 30 กิโลกรัมต่อปีเลยทีเดียว เหตุผลก็มาจากอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ มักมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่มาก  เพราะฉะนั้นเวลาเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรือเครื่องดื่ม  ผู้บริโภคควรอ่านฉลากที่ติดอยู่บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ทราบปริมาณของน้ำตาลในอาหารหรือเครื่องดื่มนั้นๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด และจะได้เลือกทานได้อย่างเหมาะสม  นอกจากน้ำตาลจากธรรมชาติที่พบได้ในผลไม้และนมแล้ว น้ำตาลที่พบในอาหารต่างๆ ก็อาจจะเป็นน้ำตาลรูปแบบอื่นๆ เช่น น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมฟรุกโทส และกากน้ำตาลซึ่งจะแตกต่างจากน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติ คือ เป็นพลังงานที่ว่างเปล่า ไม่มีวิตามิน แร่ธาตุ หรือกากใยอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบริโภคน้ำตาลเกินเกณฑ์ที่กำหนด แต่น้ำตาลไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตามล้วนแต่ให้พลังงานที่สูงอยู่ดี โดยส่วนมากหากอาหารและเครื่องดื่มชนิดไหน ที่บนฉลากมีค่าของน้ำตาลอยู่ในระดับต้นๆ ก็มักจะเป็นอาหารที่มีน้ำตาลสูงนั่นเอง ไขมันของแถมจากน้ำตาล อาหารที่มีรสชาติหวานอย่าง ไอศกรีม คุกกี้ เค้ก หรือ ขนมต่างๆ นอกจากจะมีปริมาณของน้ำตาล ครีม และเนย มากแล้ว ก็มักมีส่วนประกอบของไขมันรวมอยู่ด้วย โดยไขมันเป็นสิ่งที่ทำให้อาหารอร่อยขึ้น หากได้ความหวานจากน้ำตาลรวมไปด้วย อาหารชนิดนั้นก็จะมีความอร่อยมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถกินได้มากกว่าปกติ แต่การทานอาหารชนิดที่มีไขมันและน้ำตาลสูงนี้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่สูงมากขึ้นด้วย เนื่องจากไขมันให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม และน้ำตาลให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม

น้ำตาลซ่อนรูป Read More »

ข้าวโพดหวานกรุบๆ คลีนๆ เอาใจคนรักสุขภาพ สายhealthy ที่ชอบกินของว่าง

ข้าวโพดหวานกรุบๆ คลีนๆ

สาย healthy ที่ชอบกินของว่าง หอมๆ หวานๆ อร่อยๆ ไม่ต้องอดใจทรมานตัวเองอีกต่อไป เพราะของกินเล่นก็มีแบบอร่อยๆ แล้วคลีนๆ ทำกินเล่นในวันหยุดว่างๆ อย่างช่วงนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงนี้มีข้าวโพดหวานออกมาขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่ตลาด หรือห้างสรรพสินค้า เพราะตอนนี้ไทยเราสามารถปลูกข้าวโพดหวานขายกันได้เองหลังจากที่ก่อนหน้านั้นเราต้องนำเข้าจากที่อื่นมาขาย ข้าวโพดหวานที่มีคุณสมบัติอร่อยในตัวเองอยู่แล้วเมื่อนำมาทำเป็นของกินเล่นจะอร่อยแค่ไหนตามมาดูกัน วัตถุดิบ และเครื่องปรุง 1.ฝักข้าวโพดหวาน 2 ฝัก 2.ข้าวโอ๊ตแบบสุกแล้ว 3.ไข่ขาว 2 ฟอง 4.ผักชี 5.โยเกิร์ตกรีก  6.มะนาว พริกไทยป่น เกลือ น้ำผึ้งแท้ 7.น้ำมันมะกอก วิธีทำ 1.ตั้งน้ำเต็มหม้อใส่ข้าวโพดหวานลงตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เปิดไฟ เปิดไฟแรงต้มไป 20 นาที เปิดฝาหม้อเผยอ เสร็จแล้วปิดไฟ นำข้าวโพดไปแช่ในน้ำเย็น ดึงซังข้าวโพดออกให้หมด แล้วฝานข้าวโพด 2.ตอกไข่ 2 ฟองแยกไข่ขาวออกจากไข่แดง ใช้แต่ไข่ขาว ผสมกับข้าวโอ๊ต 4 ช้อนโต๊ะ พร้อมข้าวโพด 2 ฝัก โรยเกลือ และพริกไทยเล็กน้อย พร้อมสับผักชีลงไปตามชอบ 3.คนทั้งหมดให้เข้ากัน

ข้าวโพดหวานกรุบๆ คลีนๆ Read More »

ต้มข่าปลาในนมอัลมอนด์ ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ

ต้มข่าปลาในนมอัลมอนด์ ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ

เราคงจะเคยกินกันบ่อยสำหรับอาหารไทยที่รวมแกงกะทิกับต้มยำเข้าด้วยกัน แต่มาวันนี้เพิ่มความคลีนสำหรับคนสายสุขภาพที่กินแกงข่าเนื้ออกไก่มาจนเริ่มจะเบื่อกันแล้ว เป็นจานแกงข่าเนื้อปลาทะเลอร่อยได้เหมือนกัน อีกทั้ง่ยังได้น้ำมันปลา และโปรตีนโดยไม่มีไขมันที่ไม่ดีเข้าร่างกายด้วย และมีบางส่วนที่กินแกงข่าซดน้ำกะทิแล้วเกิดอาหารไม่ย่อยอืดมากขึ้น เราจะเปลี่ยนจากหัวกะทิเป็นนมอัลมอนด์กันแทน ลองทำกินกันดู รับรองย่อยง่าย น้ำหนักไม่ขึ้น ดีต่อสุขภาพ แบบนี้ต้องมาลองชิมกันดู วัตถุดิบ และเครื่องปรุง 1.เนื้อปลาทะเล 7-8 ขีด (เนื้อปลาเก๋า เนื้อปลากะพง เนื้อปลาอินทรีย์) 2.เครื่องต้มยำ ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู มะนาว  3.เกลือ (หากไม่ใส่น้ำปลา) 4.ผักชี ไว้โรยตอนทำเสร็จแล้ว วิธีทำ 1.นำเอาเนื้อปลาที่แล่ออกจากก้างแล้วล้างน้ำเกลือ ตามด้วยน้ำสะอาดอีกรอบ ซับน้ำให้แห้ง แล่เป็นชิ้นตามต้องการ 2.ล้างผักชี เครื่องต้มยำทุกอย่าง ตะไคร้ทุบหั่นเป็นท่อน ใบมะกรูดฉีกเพื่อให้น้ำมันหอมออก พริกขี้หนูล้างเตรียมตำตอนที่จะใส่ 3.ตั้งหม้อใส่นมอัลมอนด์เปิดไฟกลางใส่เครื่องต้มยำทุกอย่างยกเว้นพริกขี้หนู จนนมอัลมอนด์เดือดใส่เนื้อปลาหรี่ไฟกลางแล้วไม่ต้องคนรอจนเนื้อปลาสุกก่อน เมื่อเนื้อปลาสุกหรี่ไฟเบาเติมเกลือ (หากไม่ใส่น้ำปลา ถ้าใส่น้ำปลาใส่ประมาณ 2 ช้อนชา) มะนาว 3 ซีก ใส่พริกขี้หนูที่ตำไว้ตามชอบ แล้วปิดไฟ ตักใส่ชามแล้วโรยผักชี เพิ่มเติม 1.เนื้อปลาจะรู้ได้อย่างไรว่าสุกแล้ว ส่วนใหญ่ถ้าเนื้อปลาที่แล่หั่นเป็นชิ้นๆ

ต้มข่าปลาในนมอัลมอนด์ ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ Read More »